ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Brainstorming >>> ระดมสมอง

 



 การระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตามการขัดขวางการแสดงความคิดเห็นของการระดมสมองจะเกิดขึ้นได้ ถ้าการเสนอหรือริเริ่มความคิดเห็นเป็นการผจญหน้าระหว่างกันและกันด้วยอารมณ


 

การระดมสมองคือ การปรับแนวความคิดร่วมกันระหว่างสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา และในพจนานุกรมให้ความหมายว่า เป็นการคิดแบบไร้แบบแผน (Free-Form Thinking)
ทักษะสำคัญที่สุดของการระดมความคิดก็คือ การแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่าง “ความคิด (Idea)” และ “การนำ(ความคิด)มาประยุกต์ใช้”
 
กฏการระดมสมอง
  • เปิดโอกาศให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
  • ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • ปริมาณยิ่งมากยิ่งดี ยังไม่จำเป็นต้องดูข้อเท็จจริงและเหตุผล (Free Thinking)
  • อนุญาติให้ออกนอกลู่นอกทางได้
  • ห้ามวิจารณ์ในระหว่างที่มีการแสดงความคิดเห็น
  • หลีกเลี่ยงการปะทะคารม
  • เมื่อได้ผลแล้วควรทำการรวบรวมแล้วนำไปปรับปรุง



ความล้มเหลวของการระดมความคิด
มีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้การระดมความคิดล้มเหลว
  • แก้ไม่ถูกจุด
    • จุดมุ่งหมายหลักของการระดมความคิด คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดใหม่ ดังนั้น ปัญหาที่ต้องการใช้หลักการของการระดมความคิดจึงมีไม่มากนัก หรือ กล่าวกลับกันได้ว่า การระดมความคิดไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง
    • การระดมความคิดไม่เหมาะกับงานเชิงปฏิบัติ งานซึ่งต้องได้รับการแก้ไขใน เชิงปฏิบัติ เช่น ปัญหาด้านเทคนิค ด้านเครื่องกล เป็นต้น ปัญหาประเภทนี้ ไม่ ต้องใช้การระดมความคิด เมื่อรู้ว่ามันเสียก็ไปซ่อมมันเท่านั้นเอง เพราะปัญหา เหล่านี้ มีแนวทางการแก้ไขเป็นตรรกะที่ชัดเจนด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว รอเพียงแต่ลงมือทำเท่านั้นเอง
    • ปัญหาที่เหมาะกับการระดมความคิดคือปัญหาที่ไม่ใช่เชิงปฏิบัติการ เช่น ปัญหาแบบเปิด งานที่มีรายละเอียดหรือเป็นภาพรวม หรือ การคิดในเชิงของ ความเป็นไปได้ เป็นต้น
  • ปัญหาจากพฤติกรรมของบุคคล
    • ผู้ที่ระดมความคิดมักนำเอาวิธีคิดในเชิงปฏิบัติมาใช้ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์ สุดท้าย มากกว่าความเป็นไปได้ จึงทำให้ผลิตแนวความคิดออกมาได้น้อย หรือ ไม่มีแนวความคิดใหม่ ๆ ออกมาเลย แนวความคิดที่ได้มักจะซ้ำ ๆ กับที่เคยทำ
    • การมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์สุดท้าย หมายถึง การที่เราตัดสินใจแนวความคิดในเชิง คุณประโยชน์ (Usefulness) และ ความเป็นไปได้ (Feasibility) มากกว่าที่จะ เป็นในเชิงความแปลกใหม่ (Novelty) หรือ มีแนวโน้ม (Potential) เป็นหลัก
    • การมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์สุดท้าย จะทำให้เราส่งใจไปตัดสินใจสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น และจะเป็นไปในเชิงจับผิดเสียมากกว่า และมักจะเกิดคำถามเหล่านี้ตามมา เช่น
      • ฟังดูแล้วไม่มีเหตุผล
      • เคยลองมาแล้ว ใช้ไม่ได้หรอก
      • มันยุ่งยากเกินไป
  • ขาดการเอาใจใส่ต่อกระบวนการ
    • หลักการระดมความคิดนั้น จะมีลักษณะแบบอิสระ (Free Form) หรือ ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ซึ่งอาจนำมาซึ่งประโยชน์และความเสียหายพอ ๆ กัน ดังนั้น การระดมความคิดที่ปราศจากโครงสร้างหรือแบบแผนที่ดี อาจทำให้เราได้แนว ความคิดไม่กี่แบบและไม่คุ้มเวลาที่เสียไป
    • ดังนั้น การระดมความคิดต้องประกอบด้วย กฏ กติกา และ มารยาท และ การ เตรียมการที่ถูกต้อง เช่น การคัดเลือกคนที่เหมาะสมและแตกต่างกันออกไป การกำหนดภารกิจที่ชัดเจนภายในช่วงเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น ตรงนี้มันจะ แตกต่างจากการช่วยกันคิดในความหมายของเราอย่างชัดเจน




เมื่อไหร่จะใช้เทคนิคระดมสมอง
  • เมื่อต้องการค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งหัวข้อปัญหา เพื่อจะใช้ทำกิจกรรมใด ๆ การวิเคราะห์ปัญหา หรือการหาแนวทางในการแก้ไข
  • เมื่อต้องการได้ความคิดเห็นจากคนหมู่มากที่ส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน เพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
  • เราสามารถที่จะใช้เทคนิคการระดมสมองได้หลาย ๆ กรณี และในทุก ๆ ขั้นตอนของวงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) เพื่อค่อย ๆ ดึงความคิดของสมาชิกลุ่มออกมาทีละขั้น ทีละตอนอย่างเป็นระบบ
การเตรียมการเพื่อระดมความคิด
ในขั้นการเตรียมการนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ
  • ทีม ควรมีสมาชิก 8-10 คน ประกอบด้วย
    • ประธาน เป็นผู้รักษากระบวนการและวิธีการระดมสมอง
    • เจ้าของปัญหา ซึ่งเป็นผู้เข้าใจภารกิจอย่างชัดเจน
    • กลุ่มนักคิด ซึ่งควรประกอบด้วย
    • ผู้คิด
    • นักปฏิบัติ ที่มีทักษะในการวางแผน การกำกับดุแล การแปลแผนไปสู่แนวทาง ปฏิบัติ
    • ผู้จัดการ ที่มีทักษะทางด้าน การกลั่นกรอง การวิเคราะห์ ตรวจสอบรายละเอียด
    • ผู้ประสานงาน
  • ภารกิจ
  • ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบภารกิจนี้
  • ปัญหานั้น เป็นปัญหาที่ “เกิดขึ้นแล้ว” หรือ “สมมติว่า มันเกิดขึ้น”
  • การตั้งคำถาม “อย่างไร (Why?)” เพื่อ สำรวจ และ ไขโครงสร้างของ ปัญหา โดยให้อยู่ในขอบเขตในลักษณะของ
      • ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร
      • ในอนาคตต้องการให้เป็นอย่างไร
      • มีแนวทางอย่างไร ที่จะไปให้ถึงอนาคต
  • ตารางเวลา (Time Plan)





แนวทางการใช้การระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา
แนวทางการใช้การระดมความคิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • เปิดประเด็นปัญหา
  • ระดมความคิดเพื่อสร้างประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ให้มากที่สุด
  • การยอมรับประเด็นปัญหา
  • ระดมความคิดเพื่อหาวิธีขจัดปัญหา
  • คัดเลือกความคิด เพื่อใช้แก้ไขปัญหา
  • ประเมินแนวทางขจัดปัญหา
  • กำหนดรายละเอียดของทางแก้ปัญหา
  • เขียนแผนปฏิบัติการ
  • นำไปปฏิบัติ


ขั้นตอนในการระดมสมอง
  • การสำรวจปัญหา (Define Problem)
     การเข้าใจปัญหาให้ถูกต้องตรงประเด็นจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด กลุ่ม ควรเริ่มจาก:
    • เปิดประเด็นปัญหา โดยเจ้าของปัญหาเป็นผู้อธิบาย
    • กลุ่มควรฟังอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหาประเด็นปัญหาใหม่ ๆ โดยการ
      • แยกแยะปัญหา (Factoring the Problem) เพื่อดูสิ่งที่แฝงอยู่ เป็นการนำ ไปสู่ประเด็นใหม่ ๆ
      • เปลี่ยนมุมมอง (Shifting Perspective) เพื่อคิดในมุมมองอื่น ๆ ทั้งการมองไปข้างหน้า (Forward) และ มองย้อนหลัง (Backward)
      • เชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการใช้ How to’s Technique
     ตัวอย่างบริษัทหนึ่งต้องการลดต้นทุนโดย “ลดความสูญเสีย” ในองค์กร จึงมีการเปิดประเด็น “มีความสูญเสียอะไรบ้างในองค์กรของเรา”
    
  • การแยกประเด็นของปัญหา
     เจ้าของปัญหาอาจแยกแยะข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อพิจารณาได้เร็ว ขึ้น โดยพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้
  • แนวความคิดที่เป็นจริงได้
          หมายถึง ประเด็นปัญหาที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ทันที
  • แนวความคิดที่อาจเป็นจริงได้
          หมายถึง ประเด็นปัญหาหรือแนวความคิด ที่สามารถนำมาซึ่ง วิธีการ แก้ปัญหาได้ หลังจากมีการแก้ไข ปรับปรุง หรือ พัฒนา
  • แนวความคิดที่ก่อให้เกิดความสนใจ
          หมายถึงแนวความคิดที่กระตุ้นความสนใจ แม้ว่าจะไม่เข้าใจมันอย่าง ครบถ้วนก็ตาม
จากนั้น ให้เจ้าของปัญหาจะเป็นผู้เลือกประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาที่ละ 1 เรื่องเพื่
พิจารณาร่วมกันต่อไป
          จากตัวอย่างในขั้นตอนแรก หลังจากที่เราได้ประเด็น (หัวข้อความสูญเสีย) โดยสมมุติว่าหัวข้อที่ได้คือ ความสูญเสียจากการรอคอย จากนั้นในขั้นตอนนี้ก็จะได้ “มีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดการรอคอย”
  • การยอมรับประเด็นปัญหา
     ที่ประชุมยอมรับในประเด็นปัญหา หลังจากเจ้าของปัญหานำเสนอ ขึ้นมา ขั้นตอนต่อไปคือ การระดมความคิดเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้กับเจ้าของปัญหา เทคนิคที่นำมาใช้มีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น
  • เทคนิคการพยากรณ์ หรือ หาความสัมพันธ์กันของข้อมูลต่าง ๆ
  • เทคนิคการคิดเชิงอุปมาอุปมัย
  • เทคนิคการฝืนกฎ



การเลือกความคิด (สำหรับแก้ไขปัญหา) (สัก 3 ความคิด) เพื่อเสนอ ต่อเจ้าของปัญหา เทคนิคในการคัดเลือกความคิด เช่น
    • การใช้สัญชาตญาณ
    • การจัดกลุ่มความคิด
    • การให้คะแนนเพื่อการจัดลำดับ
    • การลงคะแนนโดยตรง
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ควรจะเหลือแนวความคิดแค่ความคิดเดียว เพื่อ พัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการ ในขณะเดียวกันความคิดอีกสองความคิด อาจต้องเก็บไว้ เผื่อใช้ประโยชน์ในภายหน้าด้วย
  • การเลือกความคิด
     การเลือกความคิด (สำหรับแก้ไขปัญหา) (สัก 3 ความคิด) เพื่อเสนอ ต่อเจ้าของปัญหา เทคนิคในการคัดเลือกความคิด เช่น
    • การใช้สัญชาตญาณ
    • การจัดกลุ่มความคิด
    • การให้คะแนนเพื่อการจัดลำดับ
    • การลงคะแนนโดยตรง
     เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ควรจะเหลือแนวความคิดแค่ความคิดเดียว เพื่อ พัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการ ในขณะเดียวกันความคิดอีกสองความคิด อาจต้องเก็บไว้ เผื่อใช้ประโยชน์ในภายหน้าด้วย
  • อธิบายแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกเลือก
  • ให้เจ้าของแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกเลือกมาอธิบายให้กลุ่มเข้าใจเหมือน ๆ กัน
  • กลุ่มประเมินแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้
      • การวิเคราะห์ PNI (Positive Negative and Interest)
      • ผู้ได้รับผลประโยชน์ ผู้สนับสนุน
      • Force Field Analysis
      • กำหนดผู้สนันสนุน
      • จัดทำแผนปฏิบัติการ
        • เริ่มจากทำรายละเอียดคร่าว ๆ เพื่อดูวัตถุประสงค์หลัก
    • Why-Why Analysis
    • FPA (Failure Prevention Analysis)
        • จัดทำรายละเอียดเพื่อใช้ดำเนินการ
        • ระบุผู้รับผิดชอบ
        • เริ่มปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้





สรุป
การระดมความคิดนั้นสามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่
        • การขยายขอบเขตของปัญหาที่เกิดขึ้น
        • การคัดเลือกปัญหา
        • การหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลาย
        • การคัดเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
        • การจัดทำแผนและรายละเอียดเพื่อดำเนินการ


ภาพ   >>>>> google

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

อัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐาน....ในปัจจุบัน

มาเปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก... - Full HD (High Definition) 1920 x 1080 - HD (High Definition) 1280x720 - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768 - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576 - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480 - CIF (Common Intermediate Format) 352x288 - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144        ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ