ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๒)


กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๒) ประการแรก
คือ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง
แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา
คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
ทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๒
อ้างถึงใน รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,๒๕๕๕ : บทสรุปผู้บริหาร (ค))


 การพัฒนาคนไทยยุคใหม่
จึงต้องสร้างและเตรียมเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ ๒๑
ความตระหนักนี้ตจะเห็นได้จากการที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึก
ษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยนำข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย
และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ ๒๑
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์
มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติโดยการกำหนดการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑ อ้างถึงใน
รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๕ : บทสรุปผู้บริหาร (ง))

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ มีความแตกต่างกัน
โดยที่การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๐ เน้นการเรียนรู้เฉพาะวิชาแกน และมีการประเมินผลเฉพาะเนื้อหาสาระตามวิชาแกน ส่วนการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ การเรียนรู้เน้นทั้งสาระตามวิชาแกนและสาระสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะชีวิต ทักษะการคิดและการเรียนรู้ และการเรียนรู้ไอซีที การเตรียมเยาวชนในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปรากฏเป็นรูปธรรม เมื่อมีการก่อตั้งองค์การระดับชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา The Partnership for the 21th Century เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๒ เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับผู้เรียนทุกคน ด้วยเหตุผลที่เศรษฐกิจโลกต้องการนวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน












ทั้งนี้องค์การนี้และสมาชิกที่รวมตัวกันได้จัดหาเครื่องมือและทรัพยากรต่างๆ เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาบูรณาการ 3Rs และ 4Cs  ประกอบด้วย การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การสื่อสาร (Communication) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) และความคิดสร้างสวรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) เพิ่มเติมจากการอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขได้ พร้อมทั้งได้จัดทำกรอบการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ขึ้น (Framework for 21th Century Learning) ซึ่งกรอบการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ แสดงภาพองค์รวมของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ และการเรียนรู้ที่รวมความเกี่ยวเนื่องถึงผลลัพธ์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ (การผสมผสานของทักษะเฉพาะด้าน ความรู้ในเนื้อหา ความเชี่ยวชาญและความสามารถพื้นฐาน)
ด้วยระบบสนับสนุนนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถหลากหลายมิติที่จำเป็นต่อผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งสาระวิชาหลัก สาระในศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะการคิดและการเรียนรู้ ความรู้ความสามารถด้านไอทีซี และทักษะชีวิต


โดยกำหนดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งสาระและทักษะดังกล่าว กรอบการเรียนรูู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีความสอดคล้อง ดังนั้นการมุ่งพัฒนาคนไทยให้มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น
จึงต้องมีวิธีการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญทั้ง ๕ ด้านด้วย กล่าวคือ ๑) มีความสามารถในการสื่อสาร ๒) มีความสามารถในการคิด ๓) มีความสามารถในการแก้ปัญหา ๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และ ๕) มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (รายงานการวิจัย
เรื่องการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,
๒๕๕๕ : บทสรุปผู้บริหาร (ง-ฉ))

ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่เข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๒) และเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ ๒๑ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก















เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งข้อมูลข่าวสารเท่านั้น ความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเว็บ (Technology Web) จากเว็บในสภาพนิ่ง (Static Web) มาเป็นเว็บจรวิสัย (Dynamic Web) ดังจะเห็นได้จากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเครื่องหลากหลายเพื่อใช้ในการติด
ต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน แหล่งค้นคว้าและจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
ช่วยเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานการทำงาน
และสร้างรูปแบบใหม่ๆ ในการทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

วิกิพีเดีย (Wikipedia, ๒๕๕๖) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่า
เทคโนโลยีทุกชนิดที่ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ในการสร้าง การเข้าถึง
และการจัดกระทำกับสารสนเทศ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (๒๕๔๗ :
๑๓-๑๕) ได้ให้ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสวงหา และรวบรวมข้อมูลข่าวสาร เพื่อการประมวลวิเคราะห์ (Processing) เพื่อการจัดเก็บสะสม
(Storage) เพื่อการส่งแพร่กระจาย (Dissemination) และเพื่อการนำสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่การรวมตัวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมมาคมเป็นหลัก


 
ด้วยความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ นักการศึกษาจึงมองหาแนวทางการนำศักยภาพเหล่านี้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนในยุคที่เข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ"ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๒) และเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ ๒๑
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด มีความสามารถในการแก้ปัญหา
และมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต คือ การเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-based Learning) กล่าวคือ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (รายงานการวิจัย
เรื่องการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,
๒๕๕๕ : ๖๑) มีความคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนด้วยการแก้ปัญหา
(Problem- based Learning)

 
 ประการแรก คือ การเรียนรู้ด้วยโครงการ มีชิ้นงานขับเคลื่อนการวางแผน การผลิต และการประเมิน เน้นชิ้นงานเป็นศูนย์กลางของโครงการ
ประการที่สองเป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นนัยๆว่า จะมีปัญหาต่างๆ
เกิดขึ้นในระหว่างสร้างชิ้นงาน และผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะ 5 ทักษะ คือ
๑) ทักษะในการสื่อสาร ๒) ทักษะในการคิด ๓) ทักษะในการแก้ปัญหา
๔) ทักษะในการใช้เทคโนโลยี และ ๕) ทักษะชีวิต เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
เกิดขึ้นในระหว่างสร้างชิ้นงาน

ตามที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ในยุคปฎิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สอง การเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงาน
ทำให้ครูผู้สอนในยุคปัจจุบันต้องมีคุณลักษณะที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนและต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ๕ ทักษะ

 
---------------------------------------------------------
ประการที่สำคัญก็คือ....เราในฐานะเป็นผู้จัดและดำเนินการทางด้านการศึกษา
..........จะจัดอย่างไร.........
..........และใช้หรือไม่........
..........ยอมรับมากน้อยเพียงใด..............
ซึ่งเราทุกคนจะต้องมาคิดกันครับ.........
 
(เอามาให้ฟังกันเล่นๆ......ลองฟังดูนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาที่กล่าว)
 
 
ขอบคุณ
MV จาก Youtube
ภาพ จาก Google

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

โรงเรียนในฝัน...โรงเรียนของหนู จริงหรือ

  หลายท่าน..คงสงสัย โรงเรียนในฝันมันคืออะไร....ซึงผู้ใหญ่หลายท่าน... (รวมทั้งผม) ยังไม่เข้าใจในความคิดรวบยอด หากเรามองดู.. โรงเรียนในฝันใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ(พะกิตตามที่เราเข้าใจ) ว่า Lab School ถ้าแปลความหมาย.. Lab คือ ห้องปฎิบัติการ (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) School คือ โรงเรียน (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) ถ้ารวมกันคงไม่ต้องอธิบาย เพราะท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้ว...   การดำเนินการง่ายๆ คือ มีคณะกรรมการตรวจเยี่ยม ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า คณะกรรมการ เข้าไปเยี่ยมเพื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในการใช้ห้องปฏิบัติที่ให้นักเรียนใช้ห้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล....     นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการ ความรู้ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ ผู้บริหารหลายท่าน.....  ครูหลายคน..... นักการศึกษาอีกมากมาย...... รวมทั้งศึกษานิเทศก์.... ยังมองภาพการดำเนินงานไม่ออก มองเป็นประเด็นทางด้านการเมือง.........(ซึ่งอันนี้แล้วแต่...เขาจะลากไป (เขาในที่นี้ขออนุญาตไม่เอ่่ย...ครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว...หลังจากเข้าร่วมในภารกิจตรวจเยี่ยม.... คือทำ