ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Thailand 4.0 คืออะไร


Thailand 4.0 คืออะไร ศัพท์ใหม่ที่คนไทยควรรู้
ก่อนจะเข้าสู่ Thailand 4.0 ขอเกริ่นด้วย Thailand 1.0 Thailand 2.0 และ Thailand 3.0 ก่อน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็น “โมเดลการพัฒนาประเทศไทย” ถ้าใน Thailand 1.0 จะเน้นภาคเกษตร Thailand 2.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก


โมเดลพัฒนาประเทศไทยทั้ง 3 โมเดลที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” แต่ก็หยุดอยู่แค่นั้น ทำให้มีแนวคิด Thailand 4.0 ออกมา ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนประเทศให้ไปได้ไกลกว่านั้นเยอะ โดยโมเดลนี้เป็นแนวคิดที่จะนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”

เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่
1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
3 .เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น
องค์ประกอบของโมเดลการพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0 ได้แก่
1.เปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี เตรียมปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังเป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย
2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีภาครัฐคอยช่วยเหลือ เพื่อผลักดันสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ที่มีมูลค่าต่ำสู่ High Value Services
4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ สู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
เป้าหมายที่ได้จากโมเดลนี้คือเปลี่ยนประเทศไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” ให้กลายเป็นกลุ่ม “ประเทศที่มีรายได้สูง” ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพของเศรษฐกิจ จากกลไกต่างๆ เน้นไปทางการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง

ขอบคุณข้อมูลโดย thairath.co.th‪  #‎ETDATHAILAND‬
ภาพ จาก อินเทอร์เน็ต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

โรงเรียนในฝัน...โรงเรียนของหนู จริงหรือ

  หลายท่าน..คงสงสัย โรงเรียนในฝันมันคืออะไร....ซึงผู้ใหญ่หลายท่าน... (รวมทั้งผม) ยังไม่เข้าใจในความคิดรวบยอด หากเรามองดู.. โรงเรียนในฝันใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ(พะกิตตามที่เราเข้าใจ) ว่า Lab School ถ้าแปลความหมาย.. Lab คือ ห้องปฎิบัติการ (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) School คือ โรงเรียน (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) ถ้ารวมกันคงไม่ต้องอธิบาย เพราะท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้ว...   การดำเนินการง่ายๆ คือ มีคณะกรรมการตรวจเยี่ยม ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า คณะกรรมการ เข้าไปเยี่ยมเพื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในการใช้ห้องปฏิบัติที่ให้นักเรียนใช้ห้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล....     นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการ ความรู้ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ ผู้บริหารหลายท่าน.....  ครูหลายคน..... นักการศึกษาอีกมากมาย...... รวมทั้งศึกษานิเทศก์.... ยังมองภาพการดำเนินงานไม่ออก มองเป็นประเด็นทางด้านการเมือง.........(ซึ่งอันนี้แล้วแต่...เขาจะลากไป (เขาในที่นี้ขออนุญาตไม่เอ่่ย...ครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว...หลังจากเข้าร่วมในภารกิจตรวจเยี่ยม.... คือทำ