ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การดูแลจักรยานแสนรัก.....ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ




สำหรับนักปั่นจักรยานที่ปั่นก็เปรียบเสมือนเพื่อนรักที่พร้อมจะพาเราไปในทุกเส้นทาง ดังนั้นการดูแลจักรยานแสนรักของเราให้อยู่กับเราไปนาน ๆ นั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและเราควรหมั่นดูแล จักรยานของเราให้พร้อมใช้งานและใหม่อยู่เสมอ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำการดูแลจักรยานให้อยู่กับเราไปนาน ๆ กัน

1. ล้างและทำความสะอาด 
เมื่อเราออกทริป ลุยฝน ลุยโคลนทุกครั้งหลังจากออกทริปควรที่จะหมั่นทำความสะอาด ด้วยน้ำยาล้างรถจักรยาน เพื่อให้รถของเราได้มีความสะอาดไม่มีคราบดินติดเลอะเทอะ และที่สำคัญอย่าลืมต้องเช็ดรถให้แห้งอยู่เสมออย่าปล่อยให้รถต้องเปียกโดยเฉพาะในส่วนสำคัญ ๆ ของรถ ไม่ว่าจะเป็น ล้อ ดุม ถ้วยคอกะโหลก ชุดเบรกและเกียร์ ต้องพยายามเช็ดให้แห้ง หรือถ้าจะให้ดีก็ลงแว็กซ์เพิ่มเติมเพื่อความเงางามและดูใหม่ของตัวรถท่านเอง

2.ดูแลเกียร์และตีนผี 

เกียร์และตีนผี หากมีคราบดินติดเกาะอยู่มากก็จะทำให้ชุดเกียร์ของเราเมื่อมีการสลับเปลี่ยนเกียร์ก็จะไม่ลื่นไหล อาจจะทำให้จังหวะในการเปลี่ยนเกียร์ของเราแย่ลง เกียร์มีอาการฝืดได้ ดังนั้นเราควรดูแลเกียร์และตีนผี โดยการปรับสายเคเบิลใหม่ให้ตึงพอดีกับการตอบสนองของชีพเตอร์ เฟืองพลาสติกในตีนผีหากสึกหรอ ไม่มีร่องฟันเฟืองก็ควรจะหามาเปลี่ยนใหม่ การทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างเครื่องยนต์ช่วยขจัดคราบน้ำมันจารบีเหนียวๆ ดำๆ ให้ออกไปจนหมดได้ เช็ดให้สะอาด แล้วหยอดน้ำมันหล่อลื่นจักรยานตามทุกครั้งที่ทำความสะอาดชุดตีนผี

3.ระบบเบรก 
เบรกของจักรยานมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานและลักษณะของตัวจักรยานเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเบรกแบบก้ามปู เบรกผีเสื้อหรือระบบดิสก์เบรกที่นิยมนำมาติดรถ


4. ดูแลโซ่

โซ่ นี่คืออุปกรณ์ของระบบส่งกำลังที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของการปั่นจักรยาน หากโซ่เกิดขาดกลางคัน รับรองจอดไม่ต้องแจวต่อ หิ้วรถกลับบ้านสถานเดียว ไปต่อไม่ได้

5. ล้อและยาง
ล้อและยางเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ล้อและยางเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับผิวถนนอยู่ตลอดเวลา หมั่นตวรจตราว่า ล้อยึดติดแน่นกับส่วนอื่นหรือไม่ ที่สำคัญลมยางก็ค่อยหมั่นตรวจ ถ้าลมหมดก็ไปต่อไม่ได้


ที่มา Bestbike.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

โรงเรียนในฝัน...โรงเรียนของหนู จริงหรือ

  หลายท่าน..คงสงสัย โรงเรียนในฝันมันคืออะไร....ซึงผู้ใหญ่หลายท่าน... (รวมทั้งผม) ยังไม่เข้าใจในความคิดรวบยอด หากเรามองดู.. โรงเรียนในฝันใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ(พะกิตตามที่เราเข้าใจ) ว่า Lab School ถ้าแปลความหมาย.. Lab คือ ห้องปฎิบัติการ (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) School คือ โรงเรียน (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) ถ้ารวมกันคงไม่ต้องอธิบาย เพราะท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้ว...   การดำเนินการง่ายๆ คือ มีคณะกรรมการตรวจเยี่ยม ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า คณะกรรมการ เข้าไปเยี่ยมเพื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในการใช้ห้องปฏิบัติที่ให้นักเรียนใช้ห้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล....     นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการ ความรู้ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ ผู้บริหารหลายท่าน.....  ครูหลายคน..... นักการศึกษาอีกมากมาย...... รวมทั้งศึกษานิเทศก์.... ยังมองภาพการดำเนินงานไม่ออก มองเป็นประเด็นทางด้านการเมือง.........(ซึ่งอันนี้แล้วแต่...เขาจะลากไป (เขาในที่นี้ขออนุญาตไม่เอ่่ย...ครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว...หลังจากเข้าร่วมในภารกิจตรวจเยี่ยม.... คือทำ