ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชมรมครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี...สพป.นธ.3

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556 ได้ดำเนินการประชุมชมรมครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อวางแผนการดำเนินงานของชมรม พร้อมเขียนโครงการยกระดับผลสัมฤทธฺ์กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ




 
การเข้าค่ายนักเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สพป.นราธิวาส เขต 3 ซึ่งจะดำเนินการประมาณช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2556
-----------------------------------------------------------------------------------
โครงการ                   ค่ายการงานฯ ปลูกปัญญา
(โครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายวิชาการครูผู้สอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3)
แผนงาน                   สร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม       
สนองกลยุทธ์ที่ 5          พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการ
                             มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ    กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ผู้รับผิดชอบโครงการ      เครือข่ายครูผู้สอนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการ ใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ      มีนาคม - กรกฎาคม  2556       
 

1.  หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเรียนรู้จากกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่องนับเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์ทางวิชาการและพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 
          การจัดค่ายวิชาการจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ด้านวิชาการของนักเรียนและเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองอันจะเป็นแรงสนับสนุนในการฝึกฝนพัฒนาตนเองต่อไป อีกทั้งการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสามัคคี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้จักการทำงานร่วมกัน รวมทั้งแก้ปัญหาอย่างมีกระบวนการและสามารถนำผลการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้             
          ชมรมสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ตระหนักในความสำคัญของการจัดค่ายวิชาการดังกล่าว จึงได้จัดโครงการค่ายวิชาการกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีต่อไป
 
2.  วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. เพื่อพัฒนาทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตรกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
 
3.  เป้าหมาย
          3.1  เชิงปริมาณ 
นักเรียนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (คะแนน O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2555 ลำดับ 20 สุดท้าย โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน
           
 
 
.
3.2  เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
                    2. นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะตามตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                    3. นักเรียนร้อยละ 80 ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง
                    4. ชมรมได้จัดโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของการจัดตั้งชมรม
4.  ขั้นตอนการดำเนินงาน 
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กิจกรรม
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1.ขั้นเตรียม ( PLAN )
1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
2. เสนอขออนุมัติโครงการ
3. แต่งตั้งคณะทำงาน
4. กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน
มีนาคม-เมษายน2556  
 
คณะกรรมการชมรมสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ขั้นดำเนินการ (DO)
1. ดำเนินงานตามโครงการ
   1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแนวทางการจัดค่ายวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
   1.2 ดำเนินการจัดค่ายวิชาการ  เป็นเวลา    วัน
   - รับลงทะเบียนนักเรียน
   - กิจกรรมละลายพฤติกรรม
   - ทดสอบก่อนร่วมกิจกรรม
   - แยกนักเรียนตามฐาน
   - ดำเนินกิจกรรมตามฐาน
   - กิจกรรมสันทนาการ
   - ทดสอบหลังร่วมกิจกรรม
มิถุนายน 2556
คณะกรรมการชมรมสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
3. ขั้นตรวจสอบและประเมิน ( CHECK )
1. ติดตามและประเมินผลโครงการ
2. สรุปผลการปฏิบัติงาน
มิถุนายน 2556
คณะกรรมการชมรมสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๔.  ขั้นแก้ไขและปรับปรุง  (ACTION)
1. ประชุมร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
2. แก้ไขปรับปรุงวางแผนการดำเนินงาน
มิถุนายน -กรกฎาคม 2556
คณะกรรมการชมรมสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
 
 
5. สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมบุหงาตันหยง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
 
6. งบประมาณ    - ได้รับจัดสรรตามโครงการ จำนวน     10,000       บาท
                     -  งบประมาณ ชมรม  จำนวน            ....-.....     บาท
                                      รวมทั้งสิ้น               10,000       บาท
 
รายละเอียดประกอบการใช้จ่ายงบประมาณ   ดังนี้ 
ที่
กิจกรรม
งบประมาณ
งบประมาณที่ใช้ในโครงการ
ตอบแทน
ใช้สอย
วัสดุ
1.
กิจกรรมเข้าค่ายวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
10,000
 
 
 
 
- วัสดุอุปกรณ์
 
 
 
6,000
 
- อาหารและเครื่องดื่ม
 
 
4,000
 
 
 
 
 
 
 
รวมทั้งสิ้น
10,000
-
4,000
6,000
ขอถัวจ่ายทุกรายการ
 
7.  การวัดผลและการประเมินผล
ผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการวัดและประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
สังเกตการร่วมกิจกรรม
แบบสังเกต
2. นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะตามตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ทดสอบ
แบบทดสอบ
3. นักเรียนร้อยละ 80 ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง
สอบถาม
แบบสอบถาม
4. ชมรมได้จัดโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของการจัดตั้งชมรม
ประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ
 
 
 
 
8.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ   
          2. นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
          3. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้
 
----------------------------------------------------------------------------------------
เพื่อการขับเคลื่อนจึงขอความร่วมมือสมาชิกชมรมทุกท่าน เข้าร่วมประชุมวางแผนการขับเคลื่อนชมรมกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เข้าประชุมพร้อมกัน ในวันที่ 1 เมษายน 2556
--------------------------------------------------------------------------------------
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

โรงเรียนในฝัน...โรงเรียนของหนู จริงหรือ

  หลายท่าน..คงสงสัย โรงเรียนในฝันมันคืออะไร....ซึงผู้ใหญ่หลายท่าน... (รวมทั้งผม) ยังไม่เข้าใจในความคิดรวบยอด หากเรามองดู.. โรงเรียนในฝันใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ(พะกิตตามที่เราเข้าใจ) ว่า Lab School ถ้าแปลความหมาย.. Lab คือ ห้องปฎิบัติการ (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) School คือ โรงเรียน (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) ถ้ารวมกันคงไม่ต้องอธิบาย เพราะท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้ว...   การดำเนินการง่ายๆ คือ มีคณะกรรมการตรวจเยี่ยม ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า คณะกรรมการ เข้าไปเยี่ยมเพื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในการใช้ห้องปฏิบัติที่ให้นักเรียนใช้ห้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล....     นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการ ความรู้ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ ผู้บริหารหลายท่าน.....  ครูหลายคน..... นักการศึกษาอีกมากมาย...... รวมทั้งศึกษานิเทศก์.... ยังมองภาพการดำเนินงานไม่ออก มองเป็นประเด็นทางด้านการเมือง.........(ซึ่งอันนี้แล้วแต่...เขาจะลากไป (เขาในที่นี้ขออนุญาตไม่เอ่่ย...ครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว...หลังจากเข้าร่วมในภารกิจตรวจเยี่ยม.... คือทำ