ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรียนการถ่ายภาพเบื้องต้น...


วันนี้กำลังจะเดินทางไปสวนสัตว์สงขลา ตามคำเรียกร้องของพี่แท่ง ลูกชายคนโตที่ตั้งใจอยากจะไปดูสัตว์ตามประสา...เมื่อเพื่อนไปมาเล่าให้ฟัง ทำให้ตัวเองอยากไปบ้าง ทำให้ได้ละครับ เมื่อเขาอยากเรียนรู้ให้เท่ากับเพื่อน สามารถที่จะพูดคุยเล่าประสบการณ์กับเพื่อน ก็ต้องยอมนั้นแหละครับ บอกว่าเคยพาไปมาแล้วหลายครั้ง ก็ยังอยากจะไปอีก....
เตรียมตัวก่อนจะออกเดินทาง เพื่อประโยชน์พร้อมกัน ก็เลยเตรียมเจ้ากล้องตัวโปรดไปด้วย เพื่อที่จะฝึกถ่ายภาพไปพร้อมๆกัน......
แต่นั้นแหละ......แนวการถ่ายภาพสัตว์ยังไม่ทราบเท่าใหร เลยใช้ Google เป็นแหล่งเรียนรู้ ครับ ลองเรียนรู้ที่....
http://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87#.E0.B9.80.E0.B8.97.E0.B8.84.E0.B8.99.E0.B8.B4.E0.B8.84.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.96.E0.B9.88.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.A0.E0.B8.B2.E0.B8.9E.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.A7.E0.B9.8C.E0.B9.80.E0.B8.A5.E0.B8.B5.E0.B9.89.E0.B8.A2.E0.B8.87.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.A7.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B9.88.E0.B8.B2

พอได้ความรู้การถ่ายภาพนิดน้อย เลยเข้าไปดูที่.......
http://www.photowithjack.com/2011/08/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80/

รายได้ละเอียดเพิ่มขึ้นครับ


ถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงต้องมีเทคนิคด้วยเหรอ???
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงนั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากเหมือนกัน ที่ว่าง่ายนั้นคือในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของคุณเชื่องๆ ว่านอนสอนง่าย บอกให้นั่งก็นั่ง บอกให้นอนก็นอน ไม่ยุกยิก วิ่งไปวิ่งมา แบบนี้ก็ถ่ายภาพง่าย ส่วนกรณีที่สัตว์เลี้ยงนั้น ไม่ค่อยเชื่อง หรือแบบซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ยุกยิกไปมาล่ะ หรือเพื่อนของคุณไหว้วานให้คุณไปถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงให้ โดยที่คุณไม่ได้คุ้นเคยกับเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักของเพื่อนคุณมาก่อนล่ะ เรื่องง่ายๆอาจจะกลายเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวขึ้นมาทันที
เทคนิคง่ายๆในการถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง
ขอออกตัวก่อนว่า เทคนิคที่ว่านี้ผมได้มาจากการศึกษาจากหนังสือบ้าง เว็บไซต์บ้าง และส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ส่วนจะใช้ได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนครับ มาว่ากันเรื่องเทคนิคกันเลยครับ
  • ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสัตว์ขยับตัว ส่วนว่าจะสูงแค่ไหน ต้องลองถ่ายภาพดู หากสัตว์เคลื่อนไหวตัวแล้ว ภาพยังชัดอยู่แสดงว่าความเร็วพอ หากไม่พอก็ลองเพิ่มขนาดรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น (เลขน้อย) หากยังไม่พอก็เพิ่ม ISO แต่ต้องระวังเรื่องน๊อยส์นิดนึงครับ (สำหรับผมไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะบางภาพผมกลับเพิ่มน๊อยส์เข้าไป เพื่ออารมณ์ของภาพก็มี)
  • ใช้ขนาดรูรับแสงกว้างๆ เพื่อแยกตัวสัตว์ออกจากฉากหลัง เพื่อเน้นจุดสนใจอยู่ที่สัตว์เลี้ยงของคุณอย่างเดียว และจะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นตามข้อ 1 อีกด้วย
  • ถ่ายภาพจากระดับสายตาของสัตว์ เพื่อให้มีมุมมองที่น่าสนใจมากขึ้น เพราะสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะตัวเล็กๆ มุมมองที่เรามองเห็นแบบปรกติ ก็คือก้มลงมอง ดังนั้นเมื่อคุณถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงจากมุมมองปรกติ ภาพของคุณก็จะเป็นภาพแบบธรรมดา ไม่น่าสนใจ เพราะเป็นมุมมองที่เราเห็นกันอยู่ทั่วๆไปอยู่แล้ว
  • ซูมเข้าหาตัวสัตว์ เพื่อให้จุดสนใจของสัตว์เลี้ยงของคุณมีพื้นที่ในภาพมากที่สุด จะได้ไม่มีอะไรมาแย่งความเด่นไป และจะทำให้ได้มุมมองที่แตกต่างจากปรกติ เพราะอย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าสัตว์เลี้ยงนั้นส่วนใหญ่จะตัวเล็ก เราจะมองเห็นแบบเล็กๆเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นภาพสัตว์เลี้ยงแบบชัดๆใหญ่ๆ ภาพจึงน่าสนใจขึ้น หากเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องและไม่ตื่นกล้อง อาจจะใช้เลนส์สั้นๆได้ แต่หากสัตว์ตื่นกล้อง อาจจะต้องใช้เลนส์ซูมแล้วแอบถ่ายจากที่ไกลๆแทน
  • โฟกัสที่ตาของสัตว์เลี้ยง เหมือนกับการถ่ายภาพบุคคล เพราะตาคือ “หน้าต่างของดวงใจ” หากคุณอยากรู้ใจสัตว์เลี้ยงของคุณ ก็ต้องมองให้ลึกซึ้งเข้าไปในดวงตาครับ
  • หากไม่ใช่สัตว์เลี้ยงของคุณเอง อาจจะต้องให้เจ้าของมาอยู่หลังช่างภาพ แล้วคอยเรียก เพื่อให้สัตว์หันมามองกล้อง และได้เห็นปฏิกิริยาน่ารักๆจากสัตว์เลี้ยงที่ตอบสนองต่อเสียงเรียกของเจ้าของ
  • ถ่ายรัวหลายๆช๊อต ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงไม่ยอมอยู่นิ่ง เราอาจจะต้องถ่ายภาพรัว แล้วค่อยมาเลือกภาพที่น่ารักๆเอา
  • ข้อสุดท้าย สำคัญมาก!!!หลีกเลี่ยงการใช้แฟลช” เพราะจะทำให้สัตว์ตกใจ อาจจะถึงขวัญเสีย พาลกลัวกล้องไปเลย และแสงแฟลชนั้นอาจจะเป็นอันตรายกับตาของสัตว์เลี้ยงของคุณได้ครับ
ได้ความรู้และเทคนิคเพิ่มขึ้น  ลองเข้าไปที่......
http://travel.sanook.com/767373/10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C/

ก็มีเทคนิคและเคล็ดลับอีกมากมาย คือ

1. เลือกเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส สูงสักหน่อย เช่น 80-200 mm. หรือ 70-120 mm. หรือมากกว่าถ้ามี หากเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวเช่น 135 mm. หรือ 200 mm. ยิ่งดี เพราะว่าสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ต้องอยู่ในกรง เราต้องถ่ายภาพผ่านกรงจึงไม่อาจเข้าใกล้ได้ แน่นอนคุณคงไม่อยากเดินเข้าไปถ่ายเสือ ในกรงแน่ๆ
2. เปิดหน้ากล้องให้กว้าง เมื่อถ่ายผ่านกรงหรือตาข่าย สิ่งนี้เองช่วยให้สิ่งที่เป็นฉากหน้า ในภาพเบลอหรือหลุดออกจากโฟกัสไปเลย เลนส์ที่ราคาสูงมีหน้ากล้องกว้าง F/ 2.8 พวกนี้จะใช้ได้สมราคาก็ตอนนี้แหละครับ
3. หลีกเลี่ยงฉากหลังที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กรง ตาข่าย เสาต่างๆ ควรมองหามุมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อความกลมกลืน หรือเราโม้กับเพื่อนได้ว่าไปถ่ายกระทิงมาจากเขาใหญ่ ใช้เวลาซุ่มรออยู่เกือบอาทิตย์ อะไรก็ว่าไป (ถ้าไม่อายนะ!!)
4. ใช้แฟลชเปิดเงา ส่วนมากสัตว์ในสวนสัตว์จะอยู่ในร่มเพราะต้นไม้รอบๆ บริเวณสวนสัตว์มักเป็นไม้ใหญ่มีร่มเงา การใช้แฟลชจะช่วยให้มีรายละเอียดของสีผิว
และแน่นอนประกายที่ดวงตาช่วยทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้น สัตว์บางประเภทที่มีสีสันสดใส เช่น นกแก้ว เมื่อเปิดแสงแฟลชช่วยสีสันจะออกมาอิ่ม แต่ควรชดเชยแฟลชให้อันเดอร์เล็กน้อย เพื่อความเป็นธรรมชาติให้ใช้แสงธรรมชาติ เป็นหลัก แฟลชเป็นเพียงแสงเสริมเท่านั้น



5. แยกแฟลชเลยเป็นไง ทำงานกันแบบมืออาชีพดีกว่า บางคนแม้จะมีอุปกรณ์แบบสมัครเล่น แต่ในปัจจุบันแฟลชยี่ห้อดังๆ หลายรุ่น ออกแบบให้มีการใช้โหมด Slave Flash สามารถแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง งานนี้อาจให้คุณลูกช่วยถือแฟลชในตำแหน่งที่คุณพ่อต้องการ เช่น เอียงทำมุม 45 องศากับแบบที่จะถ่าย แต่คงไม่ถึงกับให้ถือเดินเข้ากรงสิงโตนะครับ อะหย่อย!
6. เลือก Crop ภาพบางส่วนเป็นการมองหามุมมองใหม่ๆ เช่น ถ่ายภาพช้างตัวใหญ่ๆ แต่ถ่ายเน้นเฉพาะงวงช้างขณะที่กำลังรับผลไม้จากมือคน (สวย) ด้วยแล้วคุณอาจได้ภาพแนวสารคดีแบบ National Geographic เลยก็ได้
7. ภาพทีเผลอ Candid ใช้ได้ดีกับงานถ่ายภาพในสวนสัตว์เพราะสัตว์ต่างๆ มักจะไม่วางมาดหล่อ สวย ต่อหน้ากล้อง ยกเว้นมนุษย์ ช่างภาพบางคนเทียวไปเทียวมาที่เขาดินหลายครั้งเพียงเพื่อรอเก็บภาพฮิปโปหาว ของแบบนี้ต้องมีโชคมาช่วยเล็กน้อย
แต่ต้องเตรียมกล้องให้พร้อมเสมอเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด Mode Auto ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนการวัดแสง แต่ควรชดเชยแสง เปิดแสงล่วงหน้าว่าสภาพแสงอยู่ในระดับที่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายได้หรือไม่
8. ย้อนแสงก็ไม่เลว บางครั้งการถ่ายภาพสัตว์ในลักษณะย้อนแสงก็ทำให้ได้ความรู้สึกแปลกใหม่ไปอีกแบบ
แต่ควรเลือกสัตว์ชนิดที่มีรูปร่างเด่นๆ เช่น ช้าง ยีราฟ ลองนึกดูภาพยีราฟคอยาวเป็นเงาดำ มีพระอาทิตย์กำลังตกเป็นฉากหลัง เพื่อนๆ อาจนึกว่าคุณไปถ่ายถึงแอฟริกามาก็ได้ใครจะรู้



9. ลองใช้เลนส์มาโครดูบ้าง บรรยากาศในสวนสัตว์ส่วนใหญ่จะร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์เล็กๆ เช่น หอยทาก แมลง อาจมีให้เห็นลองใช้เลนส์มาโครของคุณเก็บภาพโลกใบเล็กเหล่านี้ไว้ก็น่าจะดี อย่างน้อยก็บอกใครๆ ได้ว่า นี่คือการถ่ายภาพ Wild life อย่างแท้จริง (ฮ่าฮ่า..)
10. ข้อสุดท้ายสำคัญมาก คือ การไม่รบกวนสัตว์มากเกินไป เช่น การยิงแฟลชระยะใกล้ หรือยิงตรงไปยังดวงตาของสัตว์บางชนิด อาจมีผลในอนาคต คิดถึงอกเขาอกเรานะครับ










ครับได้ความรู้ต่างๆมากมายแล้ว......ถึงเวลาออกเดินทาง ผลการถ่ายภาพเป็นอย่างไร จะเก็บมาให้ดูกันนะครับ......สวัสดีครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

โรงเรียนในฝัน...โรงเรียนของหนู จริงหรือ

  หลายท่าน..คงสงสัย โรงเรียนในฝันมันคืออะไร....ซึงผู้ใหญ่หลายท่าน... (รวมทั้งผม) ยังไม่เข้าใจในความคิดรวบยอด หากเรามองดู.. โรงเรียนในฝันใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ(พะกิตตามที่เราเข้าใจ) ว่า Lab School ถ้าแปลความหมาย.. Lab คือ ห้องปฎิบัติการ (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) School คือ โรงเรียน (ที่มา..google เมนู แปลภาษา) ถ้ารวมกันคงไม่ต้องอธิบาย เพราะท่านน่าจะทราบดีอยู่แล้ว...   การดำเนินการง่ายๆ คือ มีคณะกรรมการตรวจเยี่ยม ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า คณะกรรมการ เข้าไปเยี่ยมเพื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในการใช้ห้องปฏิบัติที่ให้นักเรียนใช้ห้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล....     นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการ ความรู้ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ ผู้บริหารหลายท่าน.....  ครูหลายคน..... นักการศึกษาอีกมากมาย...... รวมทั้งศึกษานิเทศก์.... ยังมองภาพการดำเนินงานไม่ออก มองเป็นประเด็นทางด้านการเมือง.........(ซึ่งอันนี้แล้วแต่...เขาจะลากไป (เขาในที่นี้ขออนุญาตไม่เอ่่ย...ครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว...หลังจากเข้าร่วมในภารกิจตรวจเยี่ยม.... คือทำ