ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงการโรงเรียนดีมีคุณภาพ...สพป.นราธิวาส เขต 3

โรงเรียนดีมีคุณภาพ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ซึ่งผู้จัดผิดชอบในภาพรวมคือ สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนัะกงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครับ..

รายละเอียดโครงการ มีดังนี้.....

โครงการ                                โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอ
                                                ปีการศึกษา 2556
แผนงานงบประมาณ          เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้        
สนองยุทธศาสตร์               ที่  6   เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใต้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ      กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
                                                งานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ                         นายธรรมชาติ  ทองแดง      และคณะ                                 
ลักษณะงาน/โครงการ        ต่อเนื่อง
ระยะเวลาการดำเนินการ  เมษายน – มิถุนายน 2556


1.  หลักการและเหตุผล
        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะดำเนินการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการเพิ่มศักยภาพผู้บริหาร ครู สื่อ การจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน โดยกำหนดจุดเน้นการดำเนินงาน ได้แก่ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ตามกลุ่มสาระ การอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะภาษาไทย การจัดการศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเชียน และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
                เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มนิเทศฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

2.  วัตถุประสงค์
                2.1  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ตามกลุ่มสาระ
                2.2  เพื่อพัฒนาอ่านออกเขียนได้
                2.3  เพื่อการจัดการศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเชียน
                2,4  เพื่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
                2.5  เพื่อนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
 3.  เป้าหมาย
                โรงเรียนดีมีคุณภาพภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต  3  จำนวน 3 โรง ดังต่อไปนี้                  
1.  โรงเรียนระแงะ                                                      
                2. โรงเรียนบ้านดุซงยอ
                3. โรงเรียนบ้านยานิง

4.ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ที่
รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
1.
ประชุมชี้แจงวางแผน
เมษายน 56
-นายธรรมชาติ  ทองแดง
  และคณะ
2.
ขออนุมัติโครงการ
เมษายน 56
3.
จัดสรรงบประมาณ
พฤษภาคม 56
4.
ดำเนินงานตามโครงการ
พฤษภาคม-กรกฎาคม 56
5.
นิเทศ ติดตาม
มิถุนายน 56
6.
รายงานผลการดำเนินงาน
มิถุนายน 56
7.
นำเสนอ BP/จัดนิทรรศการ
มิถุนายน 56



5.  ตัวชี้วัดความสำเร็จ
                5.1  ยกระดับผลสัมฤทธิ์ตามกลุ่มเฉลี่ยทุกสารสูงขึ้น ร้อยละ 4
                5.2  ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีการพัฒนาอ่านออกเขียนได้
                5.3  ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเชียน
                5.4  ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
                5.5  เอกสารรายงานการดำเนินงานตามโครงการ
                
 6.  กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ
                งบประมาณจากแผนงาน เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณตามกลยุทธ์ 6 ของ สพฐ.  เป็นเงิน  615,000  บาท   (ขอถัวจ่ายทุกรายการ)
ที่
รายละเอียดกิจกรรมดำเนินงาน
งบประมาณ
รายละเอียดงบประมาณ
รวมเงิน
1


พัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาระดับอำเภอ (โรงเรียนดีมีคุณภาพ)

600,000
1.1 จัดสรรให้โรงเรียนระแงะ
200,000

1.2 จัดสรรให้โรงเรียนบ้านดุซงยอ
200,000

1.3 จัดสรรให้โรงเรียนบ้านยานิง
200,000

2
นิเทศติดตามประเมินผล รายงานโครงการ
15,000
15,000
                                                          รวมงบประมาณทั้งสิ้น
615,000



7.การประเมินผล


ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีวัดและประเมิน ผล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล
คุณภาพการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอสูงขึ้น ผลสัมฤทธิ์ตามกลุ่มสาระสูงขึ้น มีการพัฒนาด้านอ่านออกเขียนได้ มีการจัดการศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเชียน มีการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และมีเอกสารรายงานการดำเนินงานตามโครงการ
- ทดสอบ
- สังเกต
- ประเมิน
-ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
-แบบประเมินการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
-แบบประเมินทักษะการอ่านออกเขียนได้
-แบบสังเกตทักษะการมีงานทำ
-เอกสารรายงานโครงการ




 8.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต  3  จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนระแงะ โรงเรียนบ้านดุซงยอ และโรงเรียนบ้านยานิง เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพ สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ตามกลุ่มสาระ พัฒนาการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะภาษาไทย ส่งเสริมการจัดการศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเชียน และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

หมายเหตุ             รายละเอียดการใช้งบประมาณการนิเทศติดตามประเมินผล รายงานโครงการ

กิจกรรมที่  2         นิเทศติดตามประเมินผล รายงานโครงการ
                        ค่าอาหาร                               20 คนๆละ 150 บาท  3 วัน (3 มื้อ)     =    4,500      บาท
                                ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20  คนๆละ 50  บาท 3 วัน (6 มื้อ)    =    4,500      บาท
                   ค่าวิทยากร                   1  คน  10 ชั่วโมงละ 600  บาท                            =    6,000      บาท
                                                                                                                                     รวมทั้งสิ้น   15,000       บาท



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ

ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)   วีรพงษ์ ไชยหงษ์                ภาวะผู้นำทางวิชาการ “Instructional Leadership” ได้กลายเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมท่ามกลางหมู่นักการศึกษาในฐานะเป็นผู้สร้างผลผลิตทางการศึกษา ซึ่งจะเริ่มเห็นได้จากงานวิจัยประสิทธิผลของโรงเรียนมีมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และต้นปี ค.ศ. 1980 (Howley, 1989) ดังที่สอดคล้องกับงานวิจัยนั้น “ภาวะผู้นำทางวิชาการ” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติของโรงเรียนมีความคาดหวังสูงต่อผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น (Larson and others, 2006) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (Hopkins, 2001 : 16) และพบว่าองค์ประกอบความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์และเป็นตัวทำนายความมีประสิทธิผลของโรงเรียน (Buzzi, 1991) ความหมายของภาวะผู้นำ                ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ เพราะมีผลกระทบต่อบุคคลและทรัพยากร ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ผู้นำที่มีการแสดง ออกซึ่งภาวะผู้นำจะส