ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุป...เอกสารการประเมินฯวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ งานนิเทศการสอน

สวัสดีครับ.....
วันนี้ได้ศึกษาและสรุป...เอกสารการประเมินฯวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ งานนิเทศการสอน สำหรับศึกษานิเทศก์  เพื่อเป็นแนวทางและการเตรียมความพร้อมสำหรับรับการประเมินครับ...

สำหรับแบบรายงานขอรับการประเมินที่ต้องใช้ มี 3 แบบ ครับ คือ

1.แบบ กคศ. 1 คือ แบบเสนอขอรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ประกอบด้วย
1.ข้อมูลของผู้รับการประเมิน
2.การรับราชการ
3.การปฏิบัติงานในปีที่ขอรับการประเมิน
4.การรายงานด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณวิชาชีพ
5.การรายงานด้านที่ 2 คิอ ความรู้ ความสามารถ
6.การรายงานด้านที่ 3 คือ ผลการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สถานศึกษา ชุมชน และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ
และ 7. คำรับรองของผู้บังคับบัญชา



2.แบบ กคศ. 2 คือ แบบรายงานด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ประกอบด้วย
1.ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
2.รายงานพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มี วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 5 ข้อ 25 ตัวบ่งชี้ คือ
2.1 การมีวินัย มี 5 ตัวบ่งชี้
2.2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มี 5 ตัวบ่งชี้
2.3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มี 5 ตัวบ่งชี้
2.4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มี 5 ตัวบ่งชี้
2.5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ มี 5 ตังบ่งชี้
และ 3. คำรับรองของผู้บังคับบัญชา


3.แบบ กคศ.3/4 คือ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1.ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
2.ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3)
2.1 ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา ประกอบด้วย ผลที่เกิดกับครู ผลที่เกิดกับผู้เรียน ผลที่เกิดกับสถานศึกษา ผลที่เกิดกับระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.2 ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อขอรับการประเมิน
3.ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการอนุมัติ
4.งานวิจัยหรือวทยานิพนธ์
และ 5. คำรับรองของผู้บังคับบัญชา


ต่อไปก็เป็นการเตรียมเอกสาร หลักฐาน สำหรับการประเมิน ครับ... ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ
ด้านที่ 3 ผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้  ครับ

ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มี 5 รายการ 25 ตัวบ่งชี้ คือ
1 การมีวินัย มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
1.1  การมีวินัยในตนเอง  ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ  กติกา  มารยาท  ขนบธรรมเนียม   และแบบแผนอันดีงามของสังคม
1.2  การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบแบบแผนของทางราชการ  ยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม
1.3  การตรงต่อเวลาและอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเ
1.4  ความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่  การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ  และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
1.5  การรักษาความสามัคคี  มีน้ำใจ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน  องค์กร  และชุมชน
2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
2.1  ความอุตสาหะ  ขยัน  อดทน  มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน  โดยยึดหลักประหยัด  คุ้มค่า  มีประสิทธิภาพ
2.2  ยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  มีความศรัทธาและปฏิบัติตามหลักศาสนา
2.3  การยึดมั่นในหลักนิติธรรม  ยืนหยัดที่จะกระทำ  ในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมและชอบด้วย
กฎหมาย
2.4  การยึดมั่นในการปกครอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
2.5  การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม
3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 3.1  การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.2  การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด
3.3  การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารของส่วนบุคคลและของทางราชการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง
3.4  การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี  เหมาะสมกับสภาพและตำแหน่งหน้าที่
3.5  การประหยัด  มัธยัสถ์   อดออม
4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
4.1  การเป็นสมาชิกที่ดี  สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมขององค์การวิชาชีพ  และทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์
4.2  การศึกษา  ค้นคว้า  ริเริ่ม  สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาวิชาชีพ
4.3  การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพ
4.4  การรักษาชื่อเสียงปกป้องศักดิ์ศรี  แห่งวิชาชีพ  และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
4.5  การส่งเสริมปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน  ชุมชน  สังคม
5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ มี 5 ตังบ่งชี้ ได้แก่
5.1  การเอาใจใส่  ถ่ายทอดความรู้  หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้  โดยไม่บิดเบือน  ปิดบังหวังสิ่งตอบแทน
5.2  การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียน  และผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกัน
5.3  การศึกษา  ค้นคว้า  ริเริ่ม  สร้างสรรค์ความรู้ใหม่  นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่
5.4   การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรของ
วิชาชีพ
5.5  การมีจิตอาสา  จิตสาธารณะ  และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ  มี 2 ส่วน  คือ
1.การเป็นผู้มีความสามารถในการนิเทศการศึกษา มี 6 รายการ 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
1.1 การนิเทศการศึกษา (1 ตัวบ่งชี้)
1.2 ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (1 ตัวบ่งชี้)
1.3 การจัดทำ การใช้ และการนำเสนอสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ (1 ตัวบ่งชี้)
1.4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การวิจัยทางการศึกษา (2 ตัวบ่งชี้)
1.5 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการนิเทศการศึกษา (1 ตัวบ่งชี้)
1.6 การปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (1 ตัวบ่งชี้)
2.การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการนิเทศการศึกษา

ด้านที่ 3 ผลการปฏิบัติงาน มี 2 ส่วน คือ
1.ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา มี 4 รายการ 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
1.1 ผลที่เกิดกับครู (2 ตัวบ่งชี้)
1.2 ผลที่เกิดกับผู้เรียน (1 ตัวบ่งชี้)
1.3 ผลที่เกิดกับสถานศึกษา (2 ตัวบ่งชี้)
1.4 ผลที่เกิดกับระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (2 ตัวบ่งชี้)
2.ผลงานทางวิชาการ มี 2 รายการ 6 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
2.1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (4 ตัวบ่งชี้)
2.2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ  (2 ตัวบ่งชี้)
--------------------------------------
ลองศึกษาและสรุปมาให้ดูกันครับ.....หวังว่าคงมีประโยชน์
รายละเอียดสามารถโหลดที่นีครับ...
https://docs.google.com/file/d/0B23Qdcw_n4MRY29sVHQ0SVVUMlE/edit?usp=drive_web
สวัสดีครับ-------------------------------------

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ

ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)   วีรพงษ์ ไชยหงษ์                ภาวะผู้นำทางวิชาการ “Instructional Leadership” ได้กลายเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมท่ามกลางหมู่นักการศึกษาในฐานะเป็นผู้สร้างผลผลิตทางการศึกษา ซึ่งจะเริ่มเห็นได้จากงานวิจัยประสิทธิผลของโรงเรียนมีมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และต้นปี ค.ศ. 1980 (Howley, 1989) ดังที่สอดคล้องกับงานวิจัยนั้น “ภาวะผู้นำทางวิชาการ” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติของโรงเรียนมีความคาดหวังสูงต่อผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น (Larson and others, 2006) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (Hopkins, 2001 : 16) และพบว่าองค์ประกอบความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์และเป็นตัวทำนายความมีประสิทธิผลของโรงเรียน (Buzzi, 1991) ความหมายของภาวะผู้นำ                ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ เพราะมีผลกระทบต่อบุคคลและทรัพยากร ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ผู้นำที่มีการแสดง ออกซึ่งภาวะผู้นำจะส