ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3


ช่วงนี้เตรียมการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน สำหรับครูผู้สอน ชั้น ป.2, ป.3 และ ป.4  ขอแจ้งคุณครูดังกล่าวในสังกัด พบกันประมาณกลางเดือนมิถุนายนครับ...

โครงการ                                โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคม
ออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
แผนงานงบประมาณ          เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้        
สนองยุทธศาสตร์               ที่  6   เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใต้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ      กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
                                                งานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ                         นายธรรมชาติ  ทองแดง      และคณะ                                 
ลักษณะงาน/โครงการ        ใหม่
ระยะเวลาการดำเนินการ  เมษายน – กันยายน 2556


1.  หลักการและเหตุผล
                กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเร่งรัดพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทักษะการใช้ และความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด    เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ โดยมีมาตรการ สอดแทรกการใช้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ในทุกกลุ่มสาร    ตลอดจนการเผยแพร่องค์ความรู้ในทุกกลุ่มสาระและ ปัจจุบันการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย หรือที่เรียกว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายเข้ามาสู่ในวงการจัดการศึกษา
   ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น และสอดคล้องกับกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มนิเทศฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

2.  วัตถุประสงค์
                2.1  เพื่อพัฒนาทักษะทักษะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                2.2  เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมในการค้นดูเว็บ
                2.3  เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกศ์เพื่อติดต่อสื่อสารในการเรียนการสอน
                2.4  เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.5 เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.6  เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.7  เพื่อพัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.8  เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตกับข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
                2.9. เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมเว็บยูทิลิตี้
                2.10 เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างบัญชีผู้ใช้สำหรับการเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต
                2.11 เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างบล็อกเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล

3.  เป้าหมาย
                ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 3, 4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำนวน 75 โรงๆ ละ 3 คน รวมทั้ง 225 คน

4.ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ที่
รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
1.
วางแผนการดำเนินงาน
พฤษภาคม
-นายธรรมชาติ  ทองแดง
และคณะ
2.
ขออนุมัติโครงการ
พฤษภาคม
3.
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
พฤษภาคม

4.
ดำเนินงานตามโครงการ
มิถุนายน

5.
นิเทศ ติดตาม
กรกฎาคม

6.
รายงานผลการดำเนินงาน
สิงหาคม

7.
นำเสนอ BP/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สิงหาคม




5.  ตัวชี้วัดความสำเร็จ
                2.1  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                2.2  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้โปรแกรมในการค้นดูเว็บ
                2.3  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกศ์เพื่อติดต่อสื่อสารในการเรียนการสอน
                2.4  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.5 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.6  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้โปรแกรมเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.7  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2.8  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตกับข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
                2.9. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการใช้โปรแกรมเว็บยูทิลิตี้
                2.10 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการสร้างบัญชีผู้ใช้สำหรับการเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต
                2.11 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการมีทักษะการสร้างบล็อกเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล             
2.12  เอกสารรายงานการดำเนินงานตามโครงการ
                                                                                                                                            
6.  กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ
                งบประมาณจากแผนงาน เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณตามกลยุทธ์ 6  ของ สพฐ.  เป็นเงิน  375,000  บาท   (ขอถัวจ่ายทุกรายการ)
พัฒนาครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน
6.1 รุ่นที่ 1 พัฒนาครูผู้สอนประถมศึกษาปีที่ 2

ที่

รายละเอียด

งบประมาณ
หมวดรายจ่าย
หมายเหตุ
ค่าตอบแทน
ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ
1
-ค่าอาหารกลางวัน 85 คน 3 มื้อๆละ 150 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 85 คน 6 มื้อๆละ 50 บาท
-ค่าวิทยากร 18 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  3 คน
-ค่าวัสดุ 80 ชุดๆละ 150 บาท
-ค่าเช่าสัญญาณอินเทอร์ 3 วันๆ ละ 4,500 บาท
-ค่าถ่ายเอกสาร
125,000




32,400


13,500
38,250

25,500












12,000


3,350

รวม
125,000
45,900
63,750
15,350


6.2 รุ่นที่ 2 พัฒนาครูผู้สอนประถมศึกษาปีที่ 3

ที่

รายละเอียด

งบประมาณ
หมวดรายจ่าย
หมายเหตุ
ค่าตอบแทน
ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ
1
-ค่าอาหารกลางวัน 85 คน 3 มื้อๆละ 150 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 85 คน 6 มื้อๆละ 50 บาท
-ค่าวิทยากร 18 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  3 คน
-ค่าวัสดุ 80 ชุดๆละ 150 บาท
-ค่าเช่าสัญญาณอินเทอร์ 3 วันๆ ละ 4,500 บาท
-ค่าถ่ายเอกสาร
125,000




32,400


13,500
38,250

25,500












12,000


3,350

รวม
125,000
45,900
63,750
15,350



6.3 รุ่นที่ 3 พัฒนาครูผู้สอนประถมศึกษาปีที่ 4

ที่

รายละเอียด

งบประมาณ
หมวดรายจ่าย
หมายเหตุ
ค่าตอบแทน
ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ
1
-ค่าอาหารกลางวัน 85 คน 3 มื้อๆละ 150 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 85 คน 6 มื้อๆละ 50 บาท
-ค่าวิทยากร 18 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  3 คน
-ค่าวัสดุ 80 ชุดๆละ 150 บาท
-ค่าเช่าสัญญาณอินเทอร์ 3 วันๆ ละ 4,500 บาท
-ค่าถ่ายเอกสาร
125,000




32,400


13,500
38,250

25,500












12,000


3,350

รวม
125,000
45,900
63,750
15,350



8.  สถานที่  
                ห้องประชุมบุหงาตันหยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
7.การประเมินผล


ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีวัดและประเมิน ผล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล
ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 3, 4 ในสังกัด ร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมในการค้นดูเว็บ การใช้ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกศ์เพื่อติดต่อสื่อสารในการเรียนการสอนการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมสนทนาผ่านสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตกับข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมเว็บยูทิลิตี้ การสร้างบัญชีผู้ใช้สำหรับการเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต และการสร้างบล็อกเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล
- ทดสอบ
- สังเกต
- ประเมิน
- แบบสังเกต
- แบบประเมินครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคม
ออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน
- แบบทดสอบครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคม
ออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนการสอน




 8.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 3, 4 ในสังกัด จำนวน 225 คน มีความรู้และทักษะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมในการค้นดูเว็บ การใช้ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกศ์เพื่อติดต่อสื่อสารในการเรียนการสอนการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมสนทนาผ่านสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตกับข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมเว็บยูทิลิตี้ การสร้างบัญชีผู้ใช้สำหรับการเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต และการสร้างบล็อกเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ

ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)   วีรพงษ์ ไชยหงษ์                ภาวะผู้นำทางวิชาการ “Instructional Leadership” ได้กลายเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมท่ามกลางหมู่นักการศึกษาในฐานะเป็นผู้สร้างผลผลิตทางการศึกษา ซึ่งจะเริ่มเห็นได้จากงานวิจัยประสิทธิผลของโรงเรียนมีมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และต้นปี ค.ศ. 1980 (Howley, 1989) ดังที่สอดคล้องกับงานวิจัยนั้น “ภาวะผู้นำทางวิชาการ” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติของโรงเรียนมีความคาดหวังสูงต่อผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น (Larson and others, 2006) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (Hopkins, 2001 : 16) และพบว่าองค์ประกอบความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์และเป็นตัวทำนายความมีประสิทธิผลของโรงเรียน (Buzzi, 1991) ความหมายของภาวะผู้นำ                ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ เพราะมีผลกระทบต่อบุคคลและทรัพยากร ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ผู้นำที่มีการแสดง ออกซึ่งภาวะผู้นำจะส