ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันที่ 3 การพัฒนาสู่ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

วันนี้...วันที่ 3 ครับ ในการพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ เป็นการเรียนรู้ในหน่วยที่ 3 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของศึกษานิเทศก์...โดยมี อาจารย์พรสมบัติ คำตรง
มีกิจกรรม 4 กิจกรรม ครับ

 
ขอนำเสนอในกิจกรรมที่ 1 นะครับ ท่านวิทยากรได้ให้ดู VTR แบบอย่างของคนสู้งาน แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มว่าได้แนวคิดอย่างไรบ้าง จะพบแนวคิดการบริหารโรงเรียนว่ามีรูปแบบอย่างไร เช่น บางคน ใช้ KPA, PDCA และ แนวคิดอื่นๆครับ
 
 
 

ในกลุ่มที่ 3 พยายามกันทุกคน ร่วมแรงร่วมใจกัน....ช่วยแสดงความคิดเห็น


มาตรฐานวิชาชีพ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ และงานนิเทศการศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการ และวิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
 
และคุณภาพการปฏิบัติงานที่แตกต่างจาก ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ คือ ต้องมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปรับประยุกต์ ระเบียบแบบแผนการนิเทศที่กำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ มีทักษะในการนิเทศที่คำนึงถึงความแตกต่างของครู ส่งผลให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
ท่านวิทยากร อาจารย์พรสมบัติ  คำตรง
 
 
บทบาทศึกษานิเทศก์ในงานวิชาการ (ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง)
1.ประสานงาน/ชี้แนะหลักสูตร มีความสามารถในการนำสาระของหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน และตอบข้อสงสัยของผู้ร่วมงานเกี่ยวกับหลักสูตรได้ตลอดเวลา
2.การจัดการเรียนการสอน เช่น การแบ่งเวลาของสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และนำนวัตกรรมมาใช้
3.ส่งเสริมการสอนการเรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น เช่น การนำนวัตกรรมมาให้ความรู้และเสริมกิจกรรมการเรียน
4.นิเทศการสอน และประเมินการสอน
5.ส่งเสริม/เปลี่ยนแปลงสาระการเรียนรู้ให้เข้าใจกับเหตุการณ์สถานการณ์ปัจจุบัน
6.ช่วยเหลือแนะนำ ความเจริญก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน
7.เป็นผู้นำของการสอนการเรียนตลอดเวลา
8.ช่วยเหลือโรงเรียนเพื่อสร้างความคาดหวังของนักเรียนในการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
9.สร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนอย่างแน่นแฟ้ม : ผูู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
10.มีความรู้ความเข้าใจและความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่ท้าทาย
 
 



 
ต่อไป ใบกิจกรรมที่ 2 ครับ นี่แหละศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ รายละเอียดคือ เล่าเรื่อง บทบาทการนิเทศที่ตนเองภาคภูมิใจ เป็นเล่าเรื่องการนิเทศที่ภาคภูมิใจ ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง.....ครับ



 
แนวทางการปฎิบัติงาน ของศึกษานิเทศก์
 
1.ทำความรู้จักกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง การทำความรู้จักจะช่วยสร้างให้ความปรารถนาที่จะช่วยกันปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
2.สื่อสารกับบุคคลที่ปฏิบัติงานด้วยอย่างชัดเจน ปัจจุบัน การสื่อสารมีหลากหลาย อย่างไรก็ตามการสื่อสารระหว่างบุคคลยังมีความจำเป็นและสำคัญ
3.สร้างความสำนึกเป็นเจ้าของจะช่วยให้ทุกคนในทีมงานมีความปรารถนาที่จะปฎิบัติงาน เพราะถือว่าความสำเร็จของงาน ตนเองมีส่วนร่วมอยู่ด้วย
4.ใช้ความเชื่อมั่นในตนเองให้เป้นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ความเชื่อมั่นนี้จะเป็นการสร้างความเชื่อถือและการยอมรับของเพื่อนร่วมงาน การยอมรับจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราไม่หวั่นไหวในการแก้ปัญหา หรือเมื่อเกิดความผิดพลาด
5.มีความเข้าใจต่อคนอื่น บรรพบุรูษได้กล่าวไว้ว่า จงปฏิบัติตนต่อผู้อื่น เหมือนกับที่ตนเองต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติกับตน เราไม่คาดหวังว่าผู้อื่นควรหยุดทำงานของเขาแล้วมาปฏิบัติงานกับเรา
6.ปฏิบัติตนสม่ำเสมอและเป็นตัวอย่างในฐานะเป็นผู้นำในวงวิชาการ เราควรสร้างมาตรฐานให้สูงไว้ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นผู้นำที่ทำได้และเป็นตัวอย่างได้
7.ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ เมื่อทำสิ่งใดสำเร็จ ควรให้ผู้อื่นได้ชื่อมชน และเห็นคุณค่า นอกจากนี้การได้รับความสนใจและการยกย่องก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นแก่ผู้ร่วมงานอีกด้วย


 
คราวนี้..มีใบกิจกรรมที่ 3 ครับ ท่านวิทยากร ให้แต่ละกลุ่มเลือกตัวแทน นำเสนอและอภิปราย จิตสำนึกของศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ครับ 
ตามสรุปของผม.....พอสรุปได้ดังนี้
1.มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ คือ ประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.มีจรรยาบรรณต่อตนเอง คือ มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์
3.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ คือ รัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบและเป็นสมาชิกที่ดีต่อวิชาชีพ
4.มีจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ คือ รัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม
และ 5.มีจรรยาบรรณต่อสังคม ครับ........


 
และในกิจกรรมที่ 4 ครับ ท่านวิทยากร ได้ให้กลุ่มระดมความคิด หาองค์ความรู้ ในการ ครองตน ครองคน และครองงาน นำเสนอในภาพรวมของกลุ่ม....



 
-----------------------------------
สวัสดีครับ
 
 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

อัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐาน....ในปัจจุบัน

มาเปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก... - Full HD (High Definition) 1920 x 1080 - HD (High Definition) 1280x720 - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768 - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576 - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480 - CIF (Common Intermediate Format) 352x288 - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144        ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ