ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายงานการค้นคว้าอิสระ เพื่อพัฒนา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

_______________________________


 
บทนำ

ตามที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นหน่วยดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สำหรับศึกษานิเทศก์ เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ของหลักสูตรของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และส่งผลดีต่อผู้เข้ารับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมบทความต่างๆ จากเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ งานวิจัย ผู้รู้ และแหล่งความรู้ต่างๆ จัดทำเป็นเอกสารฉบับนี้ ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคการพัฒนาการนิเทศการศึกษา และภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาต่อไป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

1.เทคนิคการนิเทศ

เทคนิค (Techniques , Methods)หมายถึง ศิลปะหรือกลวิธี ดังนั้นเทคนิคการนิเทศ หมายถึง การใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้การช่วยเหลือ แนะนำ บรรลุจุดมุ่งหมาย ได้โดยง่ายและสะดวกรวดเร็วดียิ่งขึ้นสมชาย ลีลานิตธิกุล (...) ได้สรุปเทคนิคการนิเทศไว้ดังนี้1.เทคนิคทั่วไปที่ใช้ในการนิเทศ 2.เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ3.เทคนิคการใช้คำปรึกษา1.เทคนิคทั่วไปที่ใช้ในการนิเทศGwynn (1961)ได้เสนอเทคนิคการนิเทศไว้ 2 แบบ คือ

1.1 การนิเทศเป็นกลุ่ม มีวิธีการที่ใช้ในการนิเทศ ดังนี้ 1) การจัดตั้งกรรมการกลุ่มทำงาน 2)การศึกษาวิชาการ 3)การจัดให้มีห้องปฏิบัติการหลักสูตร 4)การอ่านเฉพาะเรื่อง 5)การสาธิตการสอน

6)การศึกษานอกสถานที่ 7)การฟังคำบรรยาย 9)จัดให้มีห้องสมุดวิชาชีพ 10)การจัดการประชุมวิชาชีพ

1.2การนิเทศเป็นรายบุคคลมีวิธีการที่ใช้ในการนิเทศดังนี้ 1)การสังเกตการสอนในชั้นเรียน 2)การทดลองในห้องเรียน 3)การปรึกษาหารือ 4)การพาครูไปเยี่ยมซึ่งกันและกัน 5)การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการสอน 6) การประเมินตนเอง นอกจากนั้นชารี มณีศร (2523) ได้สรุปเทคนิคการนิเทศของ ดร.สาย ภาณุรัตน์ ไว้ดังนี้

1. เทคนิคการเสนอแนะ 1.1 ใช้แทนการออกคำสั่งบังคับ1.2 ใช้แนะให้ทราบความจำเป็น

2. เทคนิคสาธิต 2.1 ลงมือทำเองเป็นตัวอย่าง 2.2 ส่งปัญหาให้แก่ร่วมกันข้อควรระวังในเรื่องนี้ คือ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะสาธิตได้ดีแล้วควรหลีกเลี่ยงการสาธิตเพราะแทนที่จะได้ผลดีกลับจะเป็นผลเสียถ้าจำเป็นจริง ๆ ควรเอาครูประจำชั้นสาธิตแทนก็ได้

3. เทคนิคกัยวิจัย 3.1 ปล่อยให้แสดงออกมาให้หมดแล้วจึงเพิ่มเติมที่ขาดให้ 3.2 ส่งปัญหาทำให้โต้กัน

4. เทคนิคชวนพาที  4.1 สนทนาหลักการและวิชาการ 4.2 ให้สิ่งที่ยังขาด

5. เทคนิคแพร่พิมพ์ 5.1 เสนอสิ่งที่ควรสนใจ 5.2 แนะวิธีการแก้ปัญหาที่เห็นว่ายังขาด

6. เทคนิคปลูกมหานิยม 6.1 ช่วยความทุกข์ยากเป็นการส่วนตัว 6.2 มีจุดมุ่งอยู่ที่เด็กนักเรียน

7. เทคนิคป้อนขนมนมเนย ป้อนปัญหาง่าย ๆที่ไม่เกินความสามารถแล้วค่อยขยับขึ้นมาเป็นลำดับจนเป็นที่น่าพอใจ

2. เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ ขวัญของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ จะดีขึ้นอยู่กับความพึงพอใจที่มีต่องานและต่อสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานหากสภาพของคนและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่พึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานก็จะมีผลทำให้ขวัญกำลังใจดีด้วยผู้นิเทศมีความสำคัญในการเสริมสร้างสภาพของงานและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้รับการนิเทศได้โดยใช้หลักการสร้างแรงจูงใจของ Fulmer และ Franklin (1982) ได้จำแนกเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานไว้5 วิธี ดังนี้

2.1 วิธีการแบบเก่า (Classical Approach)ในสภาพการที่คนขยันขันแข็งในการทำงานแล้วไม่ได้รับผลตอบแทนแตกต่างจากคนเกียจคร้านด้วยประการใดๆ ในที่สุดเขาย่อมจะหมดกำลังใจในการทำงานการแก้ปัญหาหรือการสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการเก่าก็จะดำเนินการโดยกำหนดปริมาณงานที่ควรจะทำได้ภายในเวลาที่กำหนดให้หากใครได้ปริมาณเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้นวิธีการสร้างเสริมกำลังใจเพราะฉะนั้นจึงใช้ได้กับบุคคลบางคนเท่านั้นในกรณีที่บุคคลนั้นไม่มีความต้องการทางด้านการเงินวิธีการเสริมแรงแบบนี้ก็ไม่ได้ผลดังนี้จึงกล่าวได้ว่าวิธีการจูงใจแบบเก่าจะให้ความสำคัญของวัตถุมากกว่าการให้ความสำคัญแก่มนุษย์

2.2 วิธีการสนองความต้องการของมนุษย์(Human Needs Approach) วิธีการสร้างแรงจูงใจแบบเก่าเป็นการกระทำในลักษณะง่ายๆ ซึ่งมักจะได้ผลสำหรับคนทุกคน ดังนั้นจึงได้มีวิธีการพิจารณาถึงความต้องการของมนุษย์เป็นหลักบุคคลที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับแนวคิดนี้ก็คือ(Apraham Maslow)มาสโลว์ (Abraham Maslow)ได้ค้นพบว่ามนุษย์เรามีความรู้สึกและต้องการแสวงหาบางสิ่งบางอย่างในทัศนะของมาสโลว์ดังนั้นความต้องการของมนุษย์เป็นสิ่งดีไม่ใช่สิ่งเลวร้ายและยังมีความเห็นว่ามนุษย์เราต่างก็แสวงหาความมีสุขภาพดีความสุข และความสำเร็จในชีวิตแนวความคิดของมาสโลว์จึงจะมีความแตกต่างจากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในระยะแรกซึ่งในระยะแรกมักจะเห็นกันว่าแรงขับพื้นฐาน(basic drive)จะบังคับให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ผิดพลาด หรือล้มเหลวแต่ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ที่มาสโลว์ตั้งขึ้นจะมีแนวคิดในทางตรงกันข้ามเขาจะมองในทางบวกหรือเป็นคุณมากกว่าทางลบ

2.3 วิธีมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Approach) บุคคลบางคนมีความรู้ความต้องการระดับสุดยอด3 ประการ จะมีอิทธิพลต่อการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์นั่นคือความต้องการทางสังคมความสำเร็จในชีวิตและความรับรู้ในตนเองวิธีการจูงใจโดยใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์มุ่งเน้นสิ่งที่จูงใจมากกว่าบุคคลผู้รับความจูงใจโดยมีวิธีการนี้ผู้นิเทศจะใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ทำงานเทคนิคแบบนี้ประกอบไปด้วยแผนการสร้างแรงจูงใจการให้รางวัล การจัดให้มีการยกย่องและให้เกียรติอย่างเป็นพิธีการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความต้องการกระทำความดีจะเห็นว่าวิธีการใช้วิธีการใช้มนุษย์สัมพันธ์นี้จะเน้นความสำคัญของผู้นิเทศมากกว่าผู้รับการนิเทศการใช้วิธีการมนุษย์สัมพันธ์จะสร้างความรู้สึกสัมพันธ์กันในหมู่ผู้ปฏิบัติงานรวมทั้ง ผู้นิเทศเป็นอย่างดี ทุกคนอยากจะทำงานและการทำงานของทุกคนจะเป็นไปอย่างมีความสุขความสัมพันธ์ของมนุษย์จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของส่วนรวม

2.4 วิธีการบำรุงขวัญและสร้างแรงจูงใจ (Two – Factor approach : Maintainance and Motivation) วิธีการสร้างการจูงใจในลักษณะนี้เป็นการดำเนินการตามทฤษฏีของเฮอร์ซเบอกร์ก(Herzverg 1996)ซึ่งแฮร์เบอร์กได้ทำการศึกษากับวิศวกรและนักบัญชีมากกว่า200คน เพื่ออธิบายองค์ประกอบเกี่ยวกับการจูงใจในทัศนะของเฮอร์เบอร์กถือว่าองค์ประกอบที่สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานก็คือการบำรุงขวัญและการจูงใจและแต่ละองค์ประกอบนั้นมีส่วนประกอบย่อยอีกดังจะกล่าวถึงในหัวข้อที่เกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจูงใจ

2.5 วิธีการให้คาดหวังสิ่งที่ชอบ(Preference Expectation) แนวความคิดนี้จึงช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานกับวิถีทางหรือสื่อที่อยู่ซึ่งสามารถจะทำให้บรรลุจุดประสงค์เหล่านั้นได้วิธีการแบบนี้จะถือว่าแรงจูงใจนั้นขึ้นอยู่กับความคาดหวังที่ผู้ปฏิบัติงานมุ่งหวังจะรับสิ่งที่ควรคาดหวังนั้นจะต้องมีความสำคัญในฐานะเป็นรางวัลสำหรับการแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาออกมาวิธีการคาดหวังเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบนี้จะช่วยให้เกิดการจูงใจในแต่ละบุคคลวิธีการนี้ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนของแรงจูงใจและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลการที่จะนำเอาวิธีการนี้ไป ปฏิบัติความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานจึงจะทำให้การนำไปใช้เป็นอย่างได้ผลนอกจากนั้นGeorge (1479)ได้สรุปเทคนิคการสร้างแรงจูงใจไว้ 20 วิธี คือ

1) สร้างจุดมุ่งหมายในการทำงานสำหรับตัวผู้ปฏิบัติงานจุดมุ่งหมายนั้นควรมีคุณค่าสำหรับเขามีความท้าทายและสามารถบรรลุได้

2) ให้ผู้ร่วมงานทำการตัดสินใจภายหลังการพิจารณาร่วมกันแล้วในลักษณะนี้ผู้ปฏิบัติงานจะมีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้นิเทศด้วยความเต็มใจ

3) หาทางให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เขารู้ว่าผลการปฏิบัติงานนั้นเป็นอย่างไรสิ่งไหนควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมามีการประเมินเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานและหาทางแก้ไขเพื่อให้ผลงานดีขึ้นเมื่อเขาเห็นว่ามีความจำเป็น

4)แก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ด้วยการสร้างความเข้าใจต่อกันใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหาด้วยบรรยากาศอย่างตรงไปตรงมา

5) ทำการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมออธิบายให้ทราบว่าอะไรทำเสร็จสิ้นไปแล้วสิ่งไหนจะต้องทำต่อไปอีกการสื่อสารตลอดเวลาเช่นนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบสภาพกรณีต่างๆ ในการทำงานว่าเป็นอย่างไร

6) รับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานได้บอกให้ทราบ พยายามทำความเข้าใจในความคิดของผู้ปฏิบัติงานหากไม่เข้าใจให้ซักถามทันทีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในผู้ปฏิบัติงาน

7) ให้ความสนใจต่อผู้ปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลสนใจต่อความก้าวหน้าต่อผู้ปฏิบัติงานพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาหรือข้อแนะนำต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานตามสมควร

8) ให้ความจริงใจต่อความยกย่องชมเชยแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งต่อหน้าและลับหลัง

9) ควบคุมอารมณ์ในเมื่อเกิดสภาพการณ์ที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ

10) เป็นผู้มีใจกว้างและเป็นมิตรกับคนทั่วไปยินดีรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นถึงแม้ความคิดนั้นจะแตกต่างจากตนเองก็ตามไปวิพากษ์วิจารณ์จุดบกพร่องหรือจุดอ่อนของผู้อื่น

11)การตำหนิควรจะกระทำเมื่อจำเป็นจริงๆ การตำหนิที่ทำไปควรจะทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกหรือเพื่อปรับปรุงแก้ไขสำหรับการลงโทษนั้นควรจะหลีกเลี่ยงให้มาก

12)พยายามสร้างงานให้เป็นที่น่าสนใจและสอดคล้องความต้องการของผู้ปฏิบัติให้มากที่สุด

13) ให้เกียรติและยกย่องผู้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ

14) อย่าใช้วิธีการข่มขู่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เขาทำงาน

15) อย่าโยนความผิดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานโปรดระลึกเสมอว่าผู้ปฏิบัติงานพยายามที่ทำดีที่สุด

16) หาทางสร้างความก้าวหน้าให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอถึงแม้จะเป็นการยากเพียงใดก็ตาม

17)พยายามจัดระบบงานให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการทำงาน

18) ปรับปรุงตนเองให้มีความสามารถเพียงพอที่จะสร้างความก้าวหน้าและแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้

19) อย่าทำตนให้ไร้ค่าและอย่าทำตนรู้เรื่องดีหมดทุกอย่าง

3.เทคนิคการให้คำปรึกษาศึกษานิเทศก์บางครั้งก็ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาให้แก่เพื่อนร่วมงานครูอาจารย์ และคนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นว่าการทำผลงานวิชาการปัญหาผู้บริหารปัญหาส่วนตัว ฯลฯ จึงจำเป็นต้องมีเทคนิคในการให้คำปรึกษาเพื่อทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความกระจ่างเกิดมุมมองหรือทางเลือกที่หลากหลายและสามารถพิจารณาตัดสินใจเลือกปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมั่นใจเทคนิคการให้คำปรึกษาพอสรุปได้ดังนี้

3.1ศึกษาบทบาทหน้าที่ทั้งผู้ให้และผู้รับการนิเทศ

3.2 ศึกษาระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตนเองรับผิดชอบและรวบรวมไว้ในการอ้างอิง

3.3 ศึกษาสภาพและปัญหาต่าง ๆ ของงานที่รับผิดชอบและหาทางแก้ไข

3.4 รับฟังปัญหาและตอบปัญหาอย่างชัดเจนสามารถทำให้ผู้ที่มาปรึกษาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

3.5 คำนึงถึงการใช้ภาษาจังหวะและโอกาสพร้อมกับให้เกียรติผู้มารับคำปรึกษา

3.6 พิจารณาดูว่าผู้มาขอรับคำปรึกษาต้องการคำปรึกษาอย่างจริงใจหรือไม่หากไม่แน่ใจให้ชะลอการให้คำปรึกษาไว้ก่อนจนกว่าจะรับฟังข้อมูลต่าง ๆทั้งหมดของผู้ขอคำปรึกษาแล้วจึงพิจารณาให้คำปรึกษา

3.7 เสนอทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้รับคำปรึกษาเลือกนำไปปฏิบัติ

3.8 ให้เวลาตามความสนใจของผู้รับฟังคำปรึกษา

3.9มีการติดตามผลการให้คำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการเพื่อปรับปรุงตนเองของผู้ให้คำปรึกษาและเป็นข้อมูลในการให้คำปรึกษาต่อไป 

2. การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ. ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544)

การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักให้มีมาตรฐาน และมีการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมาตรฐานการศึกษา หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และ มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา

สำหรับการประกันคุณภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. การประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น เอง ถือได้ว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เข้ามาทำหน้าที่ประเมินผลการจัดการศึกษา และทำการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งหมายความว่า สถานศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย จะต้องได้รับการรับรองจาก สมศ. ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาได้มาตรฐาน คุณภาพ ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนด โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การประเมิน มีความสมดุลระหว่างเกณฑ์ที่กำหนด กับงานที่สถานศึกษาดำเนินการ

3. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ความหมาย ความสาคัญ และคุณค่า

การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น นอกจากจะดาเนินการ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสาคัญ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี ปัญหา เศรษฐกิจ ปัญหา การระบาดของสารเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแข่งขันทุกรูปแบบ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด ซึ่งล้วนแต่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคน จนนาไปสู่การเกิดปัญหาและสภาวะวิกฤติทางสังคม

ดังนั้น ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้มีความสมบูรณ์พร้อมอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนให้มีทักษะในการดารงชีวิต จึงจาเป็นที่ทุกโรงเรียน ในฐานะหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียน และแก้วิกฤติสังคม จึงควรนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร ?

การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข็มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดารงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ กระบวนการดาเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้โดยมีครูประจาชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดาเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้
ทำไมต้องมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ?

วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. เพื่อให้การดาเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ

2. เพื่อให้โรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทางานร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการทางานที่ชัดเจน มีร่องรอยหลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบและประเมินผลได้

ประโยชน์และคุณค่าของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหา

2. สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น

3. นักเรียนรู้จักตนเอง และควบคุมตนเองได้

4. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน

5. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง จริงจัง ด้วยความเสียสละ เอาใจใส่

กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดาเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดาเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้

กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

2. การคัดกรองนักเรียน

3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา

4. การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน

5. การส่งต่อ

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการรู้จักข้อมูลที่จาเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็น สิ่งสาคัญ ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นข้อมูล เชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทาให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด

 

2. การคัดกรองนักเรียน

การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน อาจนิยามกลุ่ม ได้ 4 กลุ่ม คือ

กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ ซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา

กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียน ต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี

กลุ่มมีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน

กลุ่มพิเศษ คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน อย่างเป็นที่ประจักษ์เมื่อเทียบกับผู้มีอายุในระดับเดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การส่งเสริมนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด

การจัดกลุ่มนักเรียนนี้ มีประโยชน์ต่อครูที่ปรึกษาในการหาวิธีการเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้น และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา เพราะ มีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว ความชัดเจน ในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจะมีน้อยลง มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ซึ่งบางกรณีจาเป็น ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา

ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สาหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จาเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมากในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

การป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนนั้นมีหลายเทคนิค วิธีการ แต่สิ่งที่ครูประจาชั้น/ครูที่ปรึกษา จาเป็นต้องดาเนินการมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ

1. การให้คาปรึกษาเบื้องต้น

2. การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

4. การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน

การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหากลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป

การส่งเสริมพัฒนานักเรียนมีหลายวิธีที่โรงเรียนสามารถพิจารณาดาเนินการได้ แต่มีกิจกรรมหลักสาคัญ ที่โรงเรียนต้องดาเนินการ คือ

1. การจัดกิจกรรมโฮมรูม

2. การเยี่ยมบ้าน

3. การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting)

4. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดารงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5. การส่งต่อ

ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา อาจมีกรณีที่บางปัญหามีความยกต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็ควรดาเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหา ของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น หากปล่อยให้เป็นบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาหรือครู คนใดคนหนึ่งเพียงลาพังความยุ่งยางของปัญหาอาจมีมากขึ้น หรือลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนยากต่อการแก้ไข ซึ่งครูประจาชั้น/ครูที่ปรึกษาสามารถดาเนินการได้ตั้งแต่กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการคัดกรองนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของนักเรียนในแต่ละกรณี

การส่งต่อแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหา เช่น ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจาวิชา หรือฝ่ายปกครอง

2. การส่งต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดาเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก หากพิจารณาเห็นว่าเป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดูแลช่วยเหลือได้

ปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการดาเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารทุกฝ่าย ตระหนักถึงความสาคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้การสนับสนุนการดาเนินงานหรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่าเสมอ

2. ครูทุกคนแลผู้เกี่ยวข้องจาเป็นต้องมีความตระหนักในความสาคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน และมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน

3. คณะกรรมการหรือคณะทางานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะอย่างสม่าเสมอตามที่กาหนด

4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดาเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

5. การอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสิ่งที่จาเป็นโดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนซึ่งโรงเรียนควรดาเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ

การพัฒนาและขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. ศึกษาสภาพและทิศทางการดาเนินงาน

2. วางแผนการดาเนินงานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3. ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

4. นิเทศ กากับ ติดตาม

5. ประเมินเพื่อทบทวน (ประเมินภายใน)

6. สรุปรายงาน/ประชาสัมพันธ์

 

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ

2.1 การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

มติ ครม.แก้ ก.ม.กบข.ให้ ขรก.เลือกวิธีรับบำนาญ

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขกฎหมายกองทุน กบข. เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการ และข้าราชการบำนาญก่อนปี 2540 ตัดสินใจเลือกว่า จะกลับไปใช้รับเงินบำนาญตามกฎหมายเดิม หรือว่าจะเลือกเป็นสมาชิก กบข.ต่อไป โดยมีข้าราชการสามารถใช้สิทธิดังกล่าวประมาณ 9.7 ล้านคน แยกเป็นข้าราชการปัจจุบันกว่า 700,000 คน และข้าราชการบำนาญ 2.5 แสนคน คาดว่าจะมีข้าราชการใช้สิทธิ เพื่อกลับไปรับบำนาญแบบเดิมประมาณ 700,000 คน รัฐบาลตั้งงบประมาณรองรับการเลือกกลับไปใช้บำนาญของข้าราชการปีแรกประมาณ 1,014 ล้านบาท

สำหรับผู้ที่จะรับประโยชน์มากกว่าการเป็นสมาชิกของ กบข.ควรมีอายุราชการ 40 ปีขึ้นไป การมีอายุราชการทวีคูณ จำนวนมาก เนื่องจากไปปฏิบัติหน้าที่ในถิ่นทุรกันดาร เช่น ทหาร ตำรวจ ครู สาธารณสุข โดยจะเริ่มให้ตัดสินใจเลือกในช่วงกลางปีหน้า เพื่อเริ่มใช้สิทธิในปีงบประมาณ 2558 หากใครเลือกแนวทางกลับไปใช้บำนาญเดิมจะต้องคืนเงินสมทบจากรัฐบาล และเงินทุนประเดิม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังเดินหน้าสมทบเงินเข้ากองทุน กบข.เพิ่มเติมทุกปี รองรับข้าราชการเกษียญอายุมากขึ้นในปีต่อไปในอนาคตหลายแสนล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนปัจจบันมีอยู่ 1.5 แสนล้านบาท สำหรับสูตรการคำนวณผลตอบแทนหลังเกษียณอายุจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบงบประมาณปี 2557 โดยประมาณการรายรับ 2.275 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 2.5 แสนล้านบาท เป็นงบประมาณขาดดุล 2.525 ล้านล้านบาท โดยจัดสรรสำหรับคืนเงินรถยนต์คันแรก 30,000 ล้านบาท ยืนยันยังมีเงินเพียงพอรองรับดูแลสังคม ทั้งสาธารณสุข และด้านการศึกษา และยังจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6.2 แสนล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 27.28 ของรายได้รัฐ

 

การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

สัปดาห์ที่แล้วได้นำเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเยียวยาให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ในเรื่องของคุณสมบัติของผู้เข้ารับการพัฒนา กรอบเวลาการยื่นขอเข้ารับการพัฒนา และการดำเนินการพัฒนา ในสัปดาห์นี้จะนำวิธีการในทางปฏิบัติมานำเสนอต่อเนื่องกัน ดังนี้

ในการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีนโยบายที่จะพิจารณาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านหลักสูตรการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แต่ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ ก.ค.ศ.กำหนด จึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเยียวยาให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ คือ

(1) เป็นผู้ผ่านการพัฒนาตามหลักสูตรการพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.4/0164-0169 ลงวันที่ 23 มกราคม 2552 แต่เสนอผลงานทางวิชาการแล้วไม่ผ่านการประเมิน

(2) ปัจจุบันต้องดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งและวิทยฐานะตามที่ได้ขอรับการประเมินไว้เดิม

(3) เป็นผู้สมัครใจเข้ารับการพัฒนา และยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขที่หลักเกณฑ์และวิธีการนี้กำหนด

2.ให้ยื่นขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้เพียงครั้งเดียว โดยให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และส่งถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในวันที่ 1-20 เมษายน

3.หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ให้มีการพัฒนาและประเมิน ดังนี้

(1) การพัฒนาตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กำหนด คะแนนเต็ม 200 คะแนน

(2) การพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน

(3) การรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน

(4) ผลงานทางวิชาการ คะแนนเต็ม 100 คะแนน

4.การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำเนินการ ดังนี้

(1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการพลศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงาน กศน. ให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการพัฒนา

(2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ในแต่ละจังหวัด หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีเขตเดียวในจังหวัดนั้น เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนั้นๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดังกล่าวข้างต้นอาจดำเนินการร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใกล้เคียงได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น

(3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอาจดำเนินการร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใกล้เคียงได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น

5.ผู้ที่ผ่านการพัฒนาตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ถือว่าเป็นผู้ผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งเฉพาะหลักเกณฑ์และวิธีการนี้เท่านั้น

6.ให้มีการพัฒนาเมื่อปิดภาคเรียนที่ 2 ในช่วงเวลาวันที่ 21 เมษายน-10 พฤษภาคม เพื่อมิให้กระทบต่อการจัดการเรียนการสอน

7.เมื่อผู้ขอผ่านการพัฒนาแล้ว ให้ไปพัฒนา การปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานศึกษา เป็นเวลา 1 ภาคเรียน สำหรับผู้ที่ไม่ได้สังกัดสถานศึกษาให้พัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน ในช่วงเวลาเดียวกับผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา

8.ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ตั้งคณะกรรมการประเมินการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เป็นประธานกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสมและมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ

9.เมื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่แล้วให้จัดทำเอกสารรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 1 รายการ และผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 รายการ รายการละ 4 ชุด และส่งถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในช่วงเวลาวันที่ 5-31 ตุลาคม เว้นแต่ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการในปีที่เข้ารับการพัฒนา ให้ส่งเอกสารรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ภายในช่วงเวลาวันที่ 10-30 กันยายน

10.ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในสาขาที่จะตรวจและประเมิน ซึ่งมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่า จากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.กำหนดการประเมินผู้ขอ 1 ราย ให้มีกรรมการประเมิน 3 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒินอกสังกัด อย่างน้อย 1 คน

11.เกณฑ์การตัดสิน ผู้ผ่านการประเมินต้องได้คะแนนรวมตามองค์ประกอบข้อ 3 (1)-(4) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 (350 คะแนน)

12.หากผู้ขอผู้ใดเปลี่ยนตำแหน่ง หรือโอน ในระหว่างการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ การดำเนินการตามคำร้องของผู้นั้นถือเป็นอันยุติ เว้นแต่ผู้นั้นได้ส่งเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ไว้ก่อนเปลี่ยนตำแหน่งหรือโอน

13.การพิจารณาอนุมัติผลการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์
กรณีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาไม่อนุมัติโดยมิให้มีการปรับปรุง

14.เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาผลการประเมินและมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

15.ให้ผู้ขอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ไม่ควรเกินรายละ 8,000 บาท

16.ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ หากประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ให้ขอได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการปกติ ไม่มีสิทธิขอตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้อีก

 

ผู้บริหารการศึกษา ต้อง ป.โท (4)

ว่าเรื่องการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ฉบับเดิม (พ.ศ.2548 และ 2554) เพื่อออกเป็นฉบับใหม่

ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการนิเทศการศึกษา (ข้อบังคับเดิมที่ใช้อยู่ขณะนี้ ไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา) หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้

มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยบูรณาการของความรู้และสมรรถนะไม่น้อยกว่า หัวข้อต่อไปนี้

1.การพัฒนาวิชาชีพ

2.การนิเทศการศึกษา

3.แผนและกิจกรรมการนิเทศ

4.การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

5.การวิจัยทางการศึกษา

6.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

7.การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา

8.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้

1.มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อย กว่าห้าปี (ข้อบังคับเดิม สิบปี) หรือมีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษารวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (ข้อบังคับเดิม สิบปี)

2.มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่วิชาเอก สาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของศึกษานิเทศก์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

วิชาเอก สาระความรู้และสมรรถนะดังกล่าว ข้อบังคับฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เขียนไว้ในหมวด 2 กล่าวถึงสมรรถนะและมาตรฐานความรู้ของผู้เป็นศึกษานิเทศก์ไว้หลายด้าน อาทิ ด้านนโยบายและการวางแผนการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการการศึกษา ด้านการวิจัยทางการศึกษา การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีรายละเอียดมากมาย รวมถึงคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ คณะกรรมการคุรุสภาชุดใหม่ คงประมวลออกมาเป็นฉบับใหม่ ต้องติดตามกันต่อไป

 

ขึ้นราคาชุด นร.ไม่ใช่ปัญหา

พงศ์เทพชี้ผู้ประกอบการขึ้นราคาชุด นร.ไม่ใช่ปัญหา หากปรับจริงยังมี ก.พาณิชย์ ดูแลพิจารณา ระบุหากงบเรียนฟรีไม่พอก็จะรีบทำเรื่องของบเพิ่มเติม แต่ต้องดูราคาที่สามารถจัดสรรให้ได้ประกอบด้วย เผย ปลัด ศธ.รายงานคืบหน้าพิมพ์หนังสือเรียนทำได้ตามเป้า คาดการจัดส่งไม่น่ามีปัญหาเด็กได้รับหนังสือก่อนเปิดเทอมแรกปีการศึกษา 56

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยกรณี น.ส.วิบูลลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) ระบุว่ามีผู้ประกอบการผลิตชุดนักเรียนยื่นเรื่องขอปรับเพิ่มราคาจำหน่ายชุดนักเรียน ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยอ้างเหตุผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท และตรึงราคามานานหลายปีแล้ว ว่า หากจะต้องมีการปรับราคาชุดนักเรียนเพราะราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้น หรือ เป็นไปตามอัตราเงินเฟ้อนั้นถือเป็นเรื่องปกติ โดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าสินค้าแบบไหนที่มีการตรึงราคามานานแล้ว และปัจจุบันมีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งหากงบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอก็จำเป็นต้องของบประมาณมาเพิ่มเติม แต่ก็ต้องดูว่าเราจะสามารถจัดสรรให้ได้ในราคาเท่าไหร่ ทั้งนี้ ในส่วนของ ศธ.ที่จะต้องจัดสรรงบประมาณในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ เพื่อซื้อชุดนักเรียนด้วยนั้น หากราคาชุดนักเรียนสูงขึ้นและมีงบประมาณไม่เพียงพอก็ต้องขอเพิ่ม ส่วนจะทันก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556 หรือไม่นั้น ก็ต้องเตรียมรีบเสนอของบประมาณเอาไว้ก่อน เพราะฉะนั้น เรื่องเงินจึงไม่ใช่ปัญหา

ส่วนความคืบหน้าการจัดพิมพ์หนังสือเรียนขององค์การค้าฯ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่จะแจกนักเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น ล่าสุด นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ.ในฐานะประธานบอร์ด สกสค.ได้รายงานให้ทราบว่าการจัดพิมพ์หนังสือเรียน ขณะนี้ จัดพิมพ์ได้แล้ว 80% ตามแผนที่กำหนด ซึ่งเหลือเพียงการจัดส่งจึงคิดว่าเรื่องหนังสือเรียนที่คาดว่าจะไม่มีปัญหาและสามารถส่งได้ทันตามกำหนดก่อนเปิดภาคเรียนอย่างแน่นอนรมว.ศึกษาธิการ กล่าว


ด้าน นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวว่า การจะปรับเพิ่มเงินอุดหนุนในรายการต่างๆตามโครงการเรียนฟรีฯ สช.คงต้องทำให้สอดรับกับ สพฐ.เพราะเด็กทุกคนไม่ว่าจะเรียนโรงเรียนรัฐ หรือเอกชนจะต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน

 

สพฐ.เล็งจัดเสวนาโต๊ะกลมถกปรับทิศทางห้องเรียน นำสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนโดยดึงแนวคิดหลักจากหนังสือ Flip Your Classroom ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เด็กสืบค้นข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

สพฐ.เล็งจัดเสวนาโต๊ะกลมถกปรับทิศทางห้องเรียน นำสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนโดยดึงแนวคิดหลักจากหนังสือ Flip Your Classroom ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เด็กสืบค้นข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ชินภัทรชี้เหมาะกับ ร.ร.ที่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะ ร.ร.ใน 3 จ.ภาคใต้ตอบรับแนวทางนี้ เตรียมสำรวจ ร.ร.ที่มีความพร้อมเพื่ออบรมครูนำไปปรับใช้สอนเด็กในพื้นที่

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับแนวคิดการปรับทิศทางของห้องเรียน โดยจะนำแนวคิดจากหนังสือ Flip Your Classroom มาเป็นแนวคิดหลักของการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งแนวคิดของหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการปรับทิศทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนภายใต้บริบทของเทคโนโลยี ระบบไอซีทีที่ความรู้นั้นมีอยู่ทั่วทุกสถานที่และสามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนที่โรงเรียนดำเนินการอยู่คือ ช่วงเวลา 5 นาทีแรก จะเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ช่วง 20 นาทีต่อมา เป็นการบรรยาย อีก 10 นาทีต่อมา เป็นเวลาของการสาธิตและ 5 นาทีสุดท้าย เป็นช่วงเวลาที่ครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในชั้นเรียนน้อยมาก

เพราะฉะนั้น จากนี้ไปจะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและใช้เวลาในห้องเรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีมาช่วยให้เกิดการประโยชน์คล้ายกับวิธีที่จะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือให้นักเรียนใช้ในการสืบหาข้อมูล และต่อไปเด็กจะมาเรียน โดยมีความพร้อมที่จะตั้งคำถามกับครู หรือพร้อมที่จะเสวนา หรือถกแถลงในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ครูมอบเป็นการบ้านกลับไปสืบค้นจากเนื้อหาที่มีอยู่ในแท็บเล็ตได้ ไม่ใช่มาเรียนด้วยสมองว่างเปล่า และรอรับความรู้จากครู ซึ่งเป็นวิธีการแบบเดิมนายชินภัทร กล่าวและว่า ทั้งนี้ หากปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้สำเร็จจะส่งผลดีต่อโรงเรียนที่มีข้อจำกัดได้ค่อนข้างมากอีกด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.เคยเสนอแนวทางดังกล่าวต่อครูและผู้บริหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับการตอบรับดี เพราะหากเราสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนได้สำเร็จก็จะส่งผลดี คือเด็กในพื้นที่สามารถใช้เวลาเรียนกับตนเองมากขึ้น เวลาเรียนต่อวันและสัปดาห์จะลดลง อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดที่จะทำรูปแบบนี้ให้เป็นผลสำเร็จได้จะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอนตามหัวข้อ ระบบอินเทอร์เน็ต แผนการสอน โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำการสำรวจว่า หากจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโรงเรียนที่มีความพร้อมกี่โรงเพื่อจะได้อบรมพัฒนาครูให้มีความพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับแนวคิดการปรับทิศทางของห้องเรียนขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยจะนำแนวคิดจากหนังสือ Flip Your Classroom มาเป็นแนวคิดหลักของการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งแนวคิดของหนังสือดังกล่าวเป็นการปรับทิศทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ภายใต้บริบทของเทคโนโลยี ระบบไอซีทีที่ความรู้นั้นมีอยู่ทั่วทุกสถานที่ และสามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา

แต่ปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนที่โรงเรียนดำเนินการอยู่คือ ช่วงเวลา 5 นาทีแรกจะเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ช่วง 20 นาทีต่อมาเป็นการบรรยาย อีก 10 นาทีต่อมาเป็นเวลาของการสาธิตและ 5 นาทีสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่ครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในชั้นเรียนน้อยมาก

"หลังจากนี้จะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน และใช้เวลาในห้องเรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีมาช่วยให้เกิดการประโยชน์คล้ายกับวิธีที่จะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือให้นักเรียนใช้ในการสืบหาข้อมูล และต่อไปเด็กจะมาเรียนโดยมีความพร้อมที่จะตั้งคำถามกับครู หรือพร้อมที่จะเสวนาหรือถกแถลงในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ครูมอบเป็นการบ้าน กลับไปสืบค้นจากเนื้อหาที่มีอยู่ในแท็บเล็ตได้ ไม่ใช่มาเรียนด้วยสมองว่างเปล่า และรอรับความรู้จากครูซึ่งเป็นวิธีการแบบเดิม"

นายชินภัทร กล่าวและว่า หากปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้สำเร็จจะส่งผลดีต่อโรงเรียนที่มีข้อจำกัดได้ค่อนข้างมากอีกด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า สพฐ.เคยเสนอแนวทางดังกล่าวต่อครูและผู้บริหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับการตอบรับดี เพราะหากเราสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนได้สำเร็จก็จะส่งผลดี คือ เด็กในพื้นที่สามารถใช้เวลาเรียนกับตนเองมากขึ้น เวลาเรียนต่อวันและสัปดาห์จะลดลง

อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดที่จะทำรูปแบบนี้ให้เป็นผลสำเร็จได้จะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอนตามหัวข้อ ระบบอินเตอร์เน็ต แผนการสอน โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำการสำรวจว่า หากจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโรงเรียนที่มีความพร้อมกี่แห่ง เพื่อจะได้อบรมพัฒนาครูให้มีความพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่

 

เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย : เอกสารหลักฐานที่จะต้องนำมายื่นในวันสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย

เอกสารหลักฐานที่จะต้องนำมายื่นในวันสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย

1. ใบสมัครสอบ ตามแบบที่กำหนดที่กรอกข้อมูลครบถ้วน (ลงลายมือชื่อในใบสมัครต่อหน้าเจ้าหน้าที่รับสมัคร ในวันรับสมัคร อย่าเพิ่งเซ็นก่อนนะ)

2. ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองคุณวุฒิ หรือหนังสือรับรองของสถานศึกษา ที่มีข้อความ ระบุว่า "ได้เรียนจบหลักสูตรแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติ" (ผู้มีสิทธิ์ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ต้องได้รับอนุมัติปริญญาจากผู้มีอำนาจไม่หลังวันเปิดรับสมัครวันสุดท้าย และจะต้องนำปริญญาบัตรและระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับจริงมาแสดงในวันบรรจุและแต่งตั้ง) ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

3. ระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript) ที่ระบุสาขาวิชาเอกที่ใช้สมัครสอบพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (บางเขตต้องใช้ทรานสคริปต์ ภาษาไทยนะครับ)

4. บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้สมัครที่ยังไม่หมดอายุ (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และรับรองสำเนาถูกต้อง

5. ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และรับรองสำเนาถูกต้อง

6. ใบรับรองแพทย์ จากแพทย์ผู้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน (บางเขตระบุว่าไว้ไม่เกิน 6 เดือน) และแสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฏ ก.ค.ศ.ว่าด้วยโรค พ.ศ.2549

7. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ที่ยังไม่หมดอายุ (ฉบับจริง) ที่ออกให้โดยคุรุสภา พร้อมสำเนาจำนวน 1 ฉบับ และรับรองสำเนาถูกต้อง

8. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาสีดำ ถ่ายครั้งเดียวกัน ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว x 1.5 นิ้ว จำนวน 3 รูป

9. เอกสารหลักฐานอื่น เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ทะเบียนสมรส (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ และรับรองสำเนาถูกต้อง

10. ผู้สมัครสอบแข่งขันซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องมีหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง ให้สมัครสอบแข่งขันและยินยอมให้ย้ายหรือโอนโดยไม่มีเงื่อนไขเมื่อสอบแข่งขันได้ ฉบับจริง จำนวน 1 ฉบับ

11. ค่าธรรมเนียมการสอบ 200 บาท (ถ้าไม่มี หรือไม่ได้เตรียมไป เขาไม่ได้บังคับว่าไม่ให้ยืม :P )

12. ผู้สมัครสอบมีสิทธิ์สมัครสอบได้เพียง 1 กลุ่มวิชา หรือวิชาเอก เท่านั้น (ต้องเลือกวิชาเอกที่เรามั่นใจที่สุดครับ)

13. ผู้สมัครสอบมีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขันได้เพียงแห่งเดียว หากปรากฎว่าผู้สมัครสอบแข่งขันสมัครเกินกว่าหนึ่งแห่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบแข่งขันทั้งหมด (ข้อนี้พึงระวัง อย่าเผลอไปสมัครหลายเขตนะครับ)

 

2.2 การพัฒนาการเป็นผู้นำทางวิชาการ

การเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหลายต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะการบริหารจัดการเพื่อเข้าสู่โรงเรียนคุณภาพนั้น แน่นอนต้องมุ่งที่งานวิชาการเป็นหลัก ส่วนงานอื่นๆถือว่าเป็นงานรอง หรือเป็นงานที่เกื้อหนุนให้กับงานวิชาการทั้งสิ้น ดังนั้น ใครก็ตามที่ต้องการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จหรือเป็นผู้บริหารมืออาชีพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนตนเองเป็นผู้นำทางวิชาการ ส่วนการที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น อย่างน้อยต้องมีคุณลักษณะ 10 ประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก เป็นแบบอย่างของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

ประการที่สอง เป็นผู้อำนวยความสะดวก และสร้างแรงจูงใจให้กับทีมงาน

ประการที่สาม เป็นนักประสานงานที่ดีกับบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานและข้างนอก

ประการที่สี่ เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

ประการที่ห้า ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมจนถึงผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประการที่หก ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

ประการที่เจ็ด ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา

ประการที่แปด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประการที่เก้า มุ่งสร้างเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

ประการที่สิบ มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานของตนเอง

ทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นระบบการบริหารการศึกษาแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) ที่บรรดาผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้นำทางด้านการศึกษาทั้งหลายต้องพึงตระหนัก และรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ อันดับแรกใช้หลักคิดที่ว่า มุ่งความสำคัญให้กับลูกค้าหรือผู้เรียนเป็นหลัก (Customer Focus) จากนั้นต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง (Process Improvement)และที่สำคัญต้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วม (Total Involvement)

คุณลักษณะการเป็นผู้นำทางวิชาการเหล่านี้ จะส่งผลต่อวิชาชีพของตนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จะทำให้เรากลายเป็นผู้บริหารสถานศึกษาแบบมืออาชีพอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เป็นการฝึกฝนให้ผู้ร่วมงานของเราเป็นผู้นำตามไปด้วย จากการที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษาด้วยกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพคือ นักเรียนดี เก่ง และมีสุข เมื่อผลผลิตของเรามีคุณภาพ ชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องก็มีความพึงพอใจ และสิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือผลผลิตที่มีคุณภาพของเรานั้นเป็นที่ต้องการของสถาบันต่างๆที่พวกเขาจะไปศึกษาต่อ หรือสถานที่ประกอบการที่ดีๆที่พวกเขาจะเข้าไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันเป็นเหตุให้เราในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง จากการที่ได้ร่วมกันบริหารจัดการการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม

 

2.3 การนำผลการวิจัยไปใช้ในการนิเทศการศึกษา

กลวิธีวิเคราะห์งานวิจัย/เลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพ

งานวิจัยหลากหลายที่มีอยู่ในโลก มีทั้งงานวิจัยที่มีประโยชน์ น่าเชื่อถือ และงานวิจัยที่มีข้ออ่อนของวิธี วิทยา (Methodology) ในการวิจัย ดังนั้น กลวิธีวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อเลือกใช้ผลวิจัยที่เชื่อถือได้ จึงมีหลักการคือ

1. โจทย์/คำถาม/ปัญหาการวิจัย (Research Question) ชัด ตามวงจรชีวิต (Life Cycle) ของปรากฏการณ์นั้นๆ

2. วัตถุประสงค์สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย

3. แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของปัญหาวิจัยได้ชัดขึ้น ช่วยให้เกิดแนวคิดในการกำหนดวิธีวิจัย สร้างเครื่องมือ สุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลวิจัยชัดขึ้น

4. วิธีดำเนินการและเครื่องมือที่ใช้ ช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ

5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ช่วยให้การวิจัยบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย

6. การตีความและข้อเสนอแนะตรงตามผลที่ได้จากการวิจัย

 

2.4 แนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้

           ผลการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม การยืนยันทฤษฎีข้อความจริง แนวทาง การพัฒนาปรับปรุงงานหรือการตอบปัญหาข้อสงสัย จะเป็นข้อมูลหรือความคิดที่ทรงคุณค่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่เราต้องการพัฒนา และเป็นเครื่องมือที่ใช้แสวงหายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา ถ้าเป็นงานวิจัยในชั้นเรียน ผลการวิจัย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ต่อผู้เรียนดังนั้นการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าให้บรรลุตามวัตถุประสงค์จึงเป็นสิ่งที่ผู้นิเทศจะต้องตระหนักถึงความสำคัญ และดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติโดยเร็ว สำหรับแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ในที่นี้ขอมุ่งเน้นไปที่การวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันทั้งผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนและผู้นิเทศ ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนซึ่งมีหลากหลายแนวทาง เช่น

1. การนำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งสามารถใช้ได้ในลักษณะดังนี้
1.1 ใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยตรง เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูผู้สอนนำไปใช้ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้
1.2 ใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

       2. การนำผลการวิจัยไปใช้เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอนโดย
2.1 นำไปใช้แก้ปัญหาหรือนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการที่เป็นความรู้ใหม่ นำไปอ้างอิงหรือนำไปสอนนักเรียนเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
2.2 นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อไปเพื่อให้ได้ความรู้ที่ลึกซึ้งเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
3. การนำผลการวิจัยไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ
ผลการวิจัยนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วย โดยผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้

 

 

 

 2.5 กระบวนการนำผลวิจัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

           การนำผลวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาทั้งการบริหารการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและการนิเทศการศึกษา จึงควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์ / ภาพอนาคต (Vision) ประกาศนโยบายชัด ให้ใช้การวิจัย/ผลวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานตาม พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
2. พัฒนาวิธีคิด วิธีทำงานเชิงระบบ ทำให้ทุกคนได้รับความรู้ ความเข้าใจและเห็นประโยชน์
3. สร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการวิจัยและใช้ผลวิจัยในการทำงานโดยมีการประชุมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและประเมินเป็นระยะๆ
4. ให้การสนับสนุนทรัพยากร เงิน วัสดุ ข้อมูล จัดห้องสมุด ศูนย์วิชาการ ไปศึกษาดูงาน ให้เสนอและเผยแพร่ผลงานให้กำลังใจ
5. การประเมินเพื่อสร้างสรรค์พัฒนา

3. สรุปผลการค้นคว้า

จาการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้

1.เทคนิคการนิเทศ หมายถึง การใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้การช่วยเหลือ แนะนำ บรรลุจุดมุ่งหมาย ได้โดยง่ายและสะดวกรวดเร็วดียิ่งขึ้น

2.การประกันคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก

3.ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ กระบวนการดาเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้โดยมีครูประจาชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดาเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้

4.ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เช่น มติ ครม.แก้ ก.ม.กบข.ให้ ขรก.เลือกวิธีรับบำนาญ, การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ, ผู้บริหารการศึกษา ต้อง ป.โท, พงศ์เทพชี้ผู้ประกอบการขึ้นราคาชุด นร.ไม่ใช่ปัญหา  ฯลฯ

5.การพัฒนาการเป็นผู้นำทางวิชาการ ต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ ประการแรก เป็นแบบอย่างของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ประการที่สอง เป็นผู้อำนวยความสะดวก และสร้างแรงจูงใจให้กับทีมงาน ประการที่สาม เป็นนักประสานงานที่ดีกับบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานและข้างนอก ประการที่สี่ เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ประการที่ห้า ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมจนถึงผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประการที่หก ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประการที่เจ็ด ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา ประการที่แปด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ประการที่เก้า มุ่งสร้างเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ประการที่สิบ มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานของตนเอง

6.การนำผลการวิจัยไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ ต้องดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดวิสัยทัศน์ / ภาพอนาคต (Vision)  2. พัฒนาวิธีคิด วิธีทำงานเชิงระบบ  3. สร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการวิจัยและใช้ผลวิจัยในการทำงานโดยมีการประชุมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและประเมิน 4. ให้การสนับสนุนทรัพยากร เงิน วัสดุ ข้อมูล จัดห้องสมุด ศูนย์วิชาการ ไปศึกษาดูงาน ให้เสนอและเผยแพร่ผลงานให้กำลังใจ 5. การประเมินเพื่อสร้างสรรค์พัฒนา

4.การประยุกต์ใช้ในการนิเทศการศึกษา

ขั้นที่ ๑  วางแผนการนิเทศ  (Planning – P)  ผู้บริหาร  ผู้นิเทศ  และผู้รับการนิเทศประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ปัญหาและความต้องการจำเป็นที่จะต้องมีการนิเทศ  วางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานการนิเทศ ดำเนินการนิเทศตามแผนการนิเทศ ดังนี้

๑.๑ ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๑.๒ ศึกษาหลักการแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศและการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๑.๓ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการนิเทศ

๑.๔ วางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานนิเทศ กำหนดระยะเวลาและกิจกรรมที่ใช้สำหรับการนิเทศ

๑.๕ ออกแบบและสร้างเครื่องมือการนิเทศ

ขั้นที่ ๒  ให้ความรู้ในสิ่งที่จะทำ (Informing – I) ให้ความรู้ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินว่าจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างไรบ้าง  มีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร  ทำอย่างไรจึงจะให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ดำเนินการนิเทศตามแผนการนิเทศ ดังนี้

๒.๑ ประชุมชี้แจงคณะครู

๒.๒ แจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายการนิเทศ

๒.๓ กำหนดกิจกรรมการนิเทศ และแผนการนิเทศ

๒.๔ ประเมินครูก่อนดำเนินการตามกิจกรรมนิเทศ เพื่อเก็บข้อมูลก่อนการนิเทศ

๒.๕ ให้ความรู้แก่ครูเรื่องการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ขั้นที่ ๓  การปฏิบัติงาน (Doing – D) มี ๓ ลักษณะ คือ

การปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมากจากการดำเนินการ  ขั้นที่ 

การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ทำการนิเทศ และควบคุมคุณภาพให้งานสำเร็จตามกำหนดและมีคุณภาพสูง

การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารให้ความสนับสนุนในเรื่องวัสดุอุปกรณ์  ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ดำเนินการนิเทศตามแผนการนิเทศ ดังนี้

๓.๑ การให้คำปรึกษาแนะนำการการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                ๓.๒ การบริการเอกสารเกี่ยวกับคู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๓.๓ การประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                ขั้นที่ ๔ การสร้างขวัญและกำลังใจ (Reinforcing – R) เป็นการเสริมกำลังใจของ

ผู้บริหารเพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและพึงพอใจ  ซึ่งอาจดำเนินการ ไปพร้อมกับที่ผู้รับการนิเทศกำลังปฏิบัติงานหรือ การปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้
                                ๔.๑
เยี่ยมโรงเรียนเรียนเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู

๔.๒ ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๔.๓ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

๔.๔ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคณะครู
                ขั้นที่ ๕ ประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน (Evaluating – E)
                               
๕.๑ ประเมินความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ที่มา/แหล่งอ้างอิง
http://www.gotoknow.org/posts/161981
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=web&cd=2&cad=rja&sqi=2&ved=0CDUQFjAB&url=http%3A%2F%2Fwww.krucenter.net%2Fmodules.php%3Fname%3DDownloads%26d_op%3Dgetit%26lid%3D233&ei=Z013UYGpGI20rAe7nYDgDw&usg=AFQjCNEbUSuavk2ru64c8O8V3RYFRjy7Kw&sig2=m0-CrpjzqDStElWCTv1uTw&bvm=bv.45580626,d.bmk
http://atchariya.files.wordpress.com/2012/09/e0b8a3e0b8b0e0b89ae0b89ae0b894e0b8b9e0b981e0b8a51.pdf
http://www.kroobannok.com/show_all_article.php?page=1&cat_id=29
http://tohiron12.blogspot.com/2012/05/blog-post_01.html
http://www.kroobannok.com/blog/16702


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

อัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐาน....ในปัจจุบัน

มาเปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก... - Full HD (High Definition) 1920 x 1080 - HD (High Definition) 1280x720 - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768 - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576 - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480 - CIF (Common Intermediate Format) 352x288 - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144        ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ