ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นั่งรถไฟ...

วันนี้....ได้เดินทางโดยรถไฟไปทำงาน หลังจากที่ไม่เคยได้ใช้บริการมาเกือบ 3 ปี เต็ม ตั้งแต่มีรถส่วนตัวใช้ (กัดฟันกู้เงินสหกรณ์) ผ่อนระยะยาว...
ออกเดินทาง จาก สถานีชุมทางหาดใหญ ไป สถานีตันหยงมัส ซึ่งขบวนนี้ เป็นขบวนที่ 175 สุดปลายทางที่ สถานีสุไหงโกลก ต้นทาง ออกเวลา 06.30 น.


ต้นทางออก 6 โมงเช้า ผู้โดยสารส่วนใหญ่มีแต่เฉพาะคนที่ทำงาน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนใน สามจังหวัดชายแดนใต้ กับ อำเภอจะนะบางส่วน และ รถออกเวลาเช้า ผู้โดยสารมีน้อยที่นั่งพอมีเหลือ



พอเวลา 06.30 น. เสียงประกาศของประชาสัมพันธ์สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ได้เวลารถออกเดินทาง


เจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วโดยสาร หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า การ์ดตั๋วรถไฟ สองท่านกำลังเตรียมความพร้อม ในการทำงาน



 ผู้โดยสารต่างก็นั่งกันเรียบร้อย  บางก็พูดคุยกับเพื่อร่วมเดินทาง บางก็หลับ บางก็โทรศัพท์ บางก็สาละวนอยู่กับสัมภาระของตัวเอง ส่วนผมก็ยุ่งกับการปรับกล้องถ่ายภาพและกดซัตเตอร์


พอดูเพื่อนร่วมทาง ที่พาไปด้วย ก็เผลอหลับ อาจจะเป็นเพราะตื่นเช้า เร็วไปหน่อยก็อาจจะเป็นได้....

นั่งมาประมาณ 30 นาที รถจอดเทียบสถานีจะนะ ธรรมดามีหลายสถานีที่รถไฟไม่จอด เนื่องจากขบวนนี้เป็นขบวนรถเร็ว จอดเฉพาะสถานีที่สำคัญ และมีผู้โดยสารเท่านั้น ออกจากสถานีจะนะ ก็มาจอดเทียบสถานีเทพา (อีกประมาณ 30 นาที)...สถานีเทพา เป็นสถานีที่พวกเรา(คนสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ใช้บริการรถไฟ) รู้จักกันดีคือ ข้าวแกงเทพากับไก่ทอด ซึ่งถ้ามาเยือนก็ต้องซื้อมาลิ่มรสให้ได้.. มีบริการเฉพาะที่สถานีรถไฟเท่านั้นนะครับ


แต่วันนี้ไม่ค่อยอยากจะรับประทานข้าวเท่าไหร่ เนื่องจากยังเช้าอยู่....เลยเลือกเอาข้าวเหนียวไก่กอด..ครับ


บรรยากาศสองข้างทางรถไฟ ก็เต็มไปด้วยธรรมชาติครับ นาข้าว...และสวนยางพารา ตามแบบฉบับของปักษ์ใต้



นั่งมาอีกประมาณ 30 นาที ก็ถึงสถานีปัตตานี หรือสถานีโคกโพธิ์ ตามชื่อดั่งเดิม ครับ ใครที่จะไปในเมืองปัตตานีลงที่นี่ สะดวกที่สุด



อีกประมาณ 10 กว่านาที ก็จะถึงสถานีวัดช้างไห้ ซึ่งเป็นสถานีที่เราสามารถลงนมัสการหลวงพ่อทวดได้ แต่เผอิญไม่ได้ถ่ายสถานีไว้ เพราะรถไม่ได้จอด....


แต่ลืมบอกไปครับ....ว่า ตอนนี้ถ้าขึ้นรถไฟ (ในสามจังหวัดชายแดนใต้) ทุกขบวนจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งอาสาสมัคร ทหาร ทหารพราน ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายเดน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันรักษาความปลอดภัย   ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนที่มีแต่เฉพาะตำรวจรถไฟเท่านั้น


สักพัก (ประมาณ 30 นาที) ก็ถึงสถานียะลา ซึ่งเมื่อก่อนถือว่ายะลา คือเมืองใหญ่อันดับ 1 ของสามจังหวัดนี้ เป็นแหล่งการศึกษา เป็นแหล่งท่องราตรี และเป็นแหล่งการค้า แต่ปัจจุบันนับวันยิ่งซบเซาลงไปครับ......


พนักงานเก็บตั๋วโดยสารก็ทำงานตามหน้าที่....ผู้โดยสารขึ้นก็ขอดูตั๋วโดยสาร


เป็นที่เข้าใจกันในผู้ใช้บริการรถไฟ ถ้าขบวนใหนเข้ารางที่สอง ก็ต้องมีอีกขบวนสวนมา...



อีกประมาณ 20 นาที ระยะเวลารถวิ่งบวกด้วยการจอดรอรถไฟอีกขบวนสวน ก็เข้าสู่สถานีรามัน



เส้นทางรถไฟ เน้นสร้างทำให้ตรงที่สุด....ถ้าเหมือนกับใจคนก็น่าจะดี


ผู้โดยสารก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้น-ลง....รถไฟปลอดภัย และราคาถูก ซึ่งยุคนี้สามารถนั่งรถไฟฟรีได้เกือบทุกขบวน ยกเว้นรถด่วนพิเศษทักษิณ.....


เป็นบรรยากาศอีกแบบหนึ่งครับ....ถ้ามีโอกาส ขอเชิญชวนทุกท่าน............



อีกประมาณ 20 นาที ก็ถึงสถานีรือเสาะ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักจากข่าวเหตุการณ์ลอบวางระเบิด ผู้กองชุมแพ รอง ผกก.รือเสาะ เสียชีวิต ที่ผ่านมา แต่ขอบอกก่อนว่า สถานที่เกิดเหตุการณ์นั้นห่างจากสถานีรถไฟหลายสิบกิโล ยังมีผู้โดยสารคับคั่งใช้บริการของรถไฟอย่างคึกคัก



นั่งไปพลาง...ชมวิวไปพลาง สองข้างทางยังเป็นธรรมชาติ....ครับ




อีก 15 นาที ถึงสถานีมะรือโบ เป็นสถานีสุดท้ายที่ขบวนรถจอดก่อนที่จะถึงจุดหมายที่ผมและผู้เข้าร่วมทาง 2 คน จะต้องลง......ถ้าฟังในข่าว มะรือโบตกมีฐานปฏิบัติการพระองค์ดำ ที่ถูกโจมตี จน ผบ.เสียชีวิต ซึ่งถ้าเล่ากันจริงๆ สถานที่ห่างกันไม่เกิน 5 กิโลเมตรครับ..


สุดท้าย(ใช้เวลาจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ - สถานีตันหยงมัส ร่วม 3 ชั่วโมง) ก็ถึงสถานีปลายทางของผม...และผู้ร่วมทาง สถานีตันหยงมัส เป็นสถานีซึ่งทุกท่านที่ต้องการจะเดินทางไปนราธิวาส ถ้าลงที่สถานีนี้ จะสะดวกและไกล้ที่สุด....ครับ
ตันหยงมัสเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอระแงะ และเป็นสถานที่เกิด เรียน จนสุดท้ายก็ทำงานที่นี้ครับ ตลอดเวลา 40 ปีของผม


แต่รถไฟ ยังต้องเดินทางต่อไปอีกครับ...สุดท้ายที่ สถานีสุไหงโกลก...


......ถ้าขอสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่นับถือ แล้วขอให้เกิดความสงบสุบ สันติสุข ในบ้านเมืองนี้ อยากให้เกิดขึ้นมากๆครับ......
----------------------
ธรรมชาติ   ทองแดง
----------------------

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสนทนากลุ่ม (Focus group)

การสนทนากลุ่ม   ( Focus Group)   ความเป็นมา   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์) ความหมายของการสนทนากลุ่ม   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือ

Brainstorming >>> ระดมสมอง

   ก ารระดมสมอง (Brainstorming) การระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ การระดมสมองถือว่าเป็นวิธีแรกที่เป็นเครื่องมือที่ลดการขัดขวาง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก โดยการไม่มีการประเมินความคิดเห็นที่แสดงของ สมาชิก ลดการมีอิทธิพลของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง โดยการมีวิธีสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้มี โอกาสตอบให้ความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นอย่างสั้น ๆ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จได้ ในการที่จะปรับปรุงการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ในลักษณะธรรมดาทั่ว ๆ ไป อย่างไร

อัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐาน....ในปัจจุบัน

มาเปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก... - Full HD (High Definition) 1920 x 1080 - HD (High Definition) 1280x720 - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768 - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576 - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480 - CIF (Common Intermediate Format) 352x288 - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144        ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ